เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 6.อัพยากตวรรค 2.ปุริสคติสูตร
เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มีอยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่ติดใจในภพ1
ไม่ติดใจในสมภพ2 เห็นทางที่สงบอย่างยิ่ง3 ด้วยปัญญาอันชอบ เธอยัง
มิได้ทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละมานานุสัย
(อนุสัยคือความถือตัว)โดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละภวราคานุสัย
(อนุสัยคือความติดใจในภพ)โดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละอวิชชานุสัย
(อนุสัยคืออวิชชา)โดยประการทั้งปวง เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการ
สิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี4 ภิกษุทั้งหลาย เมื่อช่างตีแผ่น
เหล็กที่ถูกเผาตลอดวัน สะเก็ดร่อนออกแล้วดับไป แม้ฉันใด ภิกษุ
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรมไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมจักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี
เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มีอยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่
ติดใจในภพ ไม่ติดใจในสมภพ เห็นทางที่สงบอย่างยิ่งด้วยปัญญา
อันชอบ เธอยังมิได้ทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ยังมิได้
ละมานานุสัยโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละภวราคานุสัยโดยประการ
ทั้งปวง ยังมิได้ละอวิชชานุสัยโดยประการทั้งปวง เพราะสังโยชน์
เบื้องต่ำ 5 ประการสิ้นไป เธอจึงเป็นอันตราปรินิพพายี
2. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ปฏิบัติด้วยคิดอย่างนี้ว่า “ถ้ากรรมไม่มีแล้ว
อัตภาพของเราก็ไม่พึงมี ถ้ากรรมจักไม่มี อัตภาพของเราก็จักไม่มี
เราย่อมละเบญจขันธ์ที่มีอยู่เป็นอยู่ได้” ย่อมได้อุเบกขา เธอไม่
ติดใจในภพ ไม่ติดใจในสมภพ เห็นทางที่สงบอย่างยิ่งด้วยปัญญา
อันชอบ ยังมิได้ทำให้แจ้งทางที่สงบนั้นโดยประการทั้งปวง ยังมิได้
ละมานานุสัยโดยประการทั้งปวง ยังมิได้ละภวราคานุสัยโดยประการ
ทั้งปวง ยังมิได้ละอวิชชานุสัยโดยประการทั้งปวง เพราะสังโยชน์

เชิงอรรถ :
1 ไม่ติดใจในภพ ในที่นี้หมายถึงไม่ติดใจในขันธ์ 5 ในอดีตด้วยตัณหาและทิฏฐิ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/55/190)
2 ไม่ติตใจในสมภพ ในที่นี้หมายถึงไม่ติดใจในขันธ์ 5 ในอนาคต (องฺ.สตฺตก.อ.3/55/190)
3 ทางที่สงบอย่างยิ่ง ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.สตฺตก.อ. 3/55/190)
4 ดูเชิงอรรถที่ 1 สัตตกนิบาต ข้อ 16 หน้า 25 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :100 }