เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 1.ธนวรรค 6.วิตถตธนสูตร
สีลธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ1 เป็นผู้เว้นขาด
จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย2อันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า
สีลธนะ
หิริธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ละอายต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า หิริธนะ
โอตตัปปธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า
โอตตัปปธนะ
สุตธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ3 สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมาก
ซึ่งธรรมทั้งหลายที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มและความพิสดารในอัฏฐกนิบาต ข้อ 41 (สังขิตตุโปสถสูตร) หน้า 303-304 ในเล่มนี้
2 สุราและเมรัย หมายถึงสุรา 5 อย่าง คือ (1) สุราแป้ง (2) สุราขนม (3) สุราข้าวสุก (4) สุราใส่เชื้อ
(5) สุราผสมเครื่องปรุง และเมรัย 5 อย่าง คือ (1) เครื่องดองดอกไม้ (2) เครื่องดองผลไม้ (3) เครื่องดอง
น้ำอ้อย (4) เครื่องดองผสมเครื่องปรุง (5) เครื่องดองน้ำผึ้ง (ขุ.ขุ.อ. 2/17-18)
ส่วนใน องฺ.ปญฺจก.อ. 3/179/69, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/179/66 อธิบายว่า เมรัยมี 4 อย่าง กล่าวคือ
ไม่มีเครื่องดองผสมเครื่องปรุง
คำว่า ‘เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย’ อาจแปลได้อีกว่า ‘เว้นขาดจากการเสพสุรา
เมรัยและของมึนเมา’ ตามนัยนี้คือ ‘ตทุภยเมว (สุราเมรยํ) มทนียฏฺเฐน มชฺชํ, ยํ วา ปนฺมฺปิ กิฺจิ
มทนียํ’ แปลว่า สุราและเมรัยทั้งสองนั้นแหละ เป็นของมึนเมา เพราะเป็นเหตุให้เมา และยังมีสิ่งอื่นอีกที่
เป็นของมึนเมา (ขุ.ขุ.อ. 2/18)
3 สุตะ ในที่นี้หมายถึงนวังคสัตถุศาสน์ คำสอนของพระศาสดามีองค์ 9 คือ (1)สุตตะ ได้แก่ อุภโตวิภังค์
นิทเทส ขันธกะ ปริวาร พระสูตรในสุตตนิบาต และพุทธวจนะอื่น ๆ ที่มีชื่อว่าสุตตะ หรือสุตตันตะ
(2) เคยยะ ได้แก่ ความที่มีร้อยแก้ว และร้อยกรองผสมกัน หมายถึงพระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด โดยเฉพาะ
สคาถวรรค ในสังยุตตนิกาย (3) เวยยากรณะ ได้แก่ ความร้อยแก้วล้วน หมายเอาอภิธรรมปิฎกทั้งหมด
พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพระพุทธพจน์อื่นใดที่ไม่จัดเข้าในองค์ 8 ข้อที่เหลือ (4) คาถา ได้แก่ ความ
ร้อยกรองล้วน หมายเอาธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนในสุตตนิบาตที่ไม่มีชื่อว่าเป็นสูตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :10 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 1.ธนวรรค 6.วิตถตธนสูตร
ในที่สุด1 ประกาศพรหมจรรย์2พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์3ครบถ้วน
ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ4 นี้เรียกว่า สุตธนะ
จาคธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม5 ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการแจกทาน
อยู่ครองเรือน นี้เรียกว่า จาคธนะ

เชิงอรรถ :
(5) อุทาน ได้แก่ พระคาถาที่ทรงเปล่งด้วยพระทัยอันสหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณพร้อมทั้ง
ข้อความอันประกอบอยู่ด้วย รวมเป็นพระสูตร 82 สูตร (6) อิติวุตตกะ ได้แก่ พระสูตร 110 สูตรที่
ตรัสโดยนัยว่า “วุตฺตํ เหตํ ภควตา” (7) ชาตกะ ได้แก่ ชาดก 550 เรื่อง มีอปัณณกชาดก เป็นต้น
(8) อัพภูตธรรม ได้แก่ พระสูตรที่ว่าด้วยเหตุอัศจรรย์ทุกสูตร เช่นที่ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความเป็น
อัจฉริยะไม่เคยปรากฏ 4 ประการนี้ มีอยู่ในอานนท์” ดังนี้ เป็นต้น (9) เวทัลละ ได้แก่ พระสูตรแบบถาม
ตอบซึ่งผู้ถามได้ทั้งความรู้และความพอใจถามต่อๆ ไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร
สักกปัญหสูตร สังขารภาชนิยสูตร และมหาปุณณมสูตร (องฺ.จตุกฺก.อ.2/6/282, วิ.อ.1/26) และดู
องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/6/9-11, องฺ.ปญฺจก. (แปล) 22/73/123
1 มีความงามในเบื้องต้น หมายถึงศีล มีความงามในท่ามกลาง หมายถึงอริยมรรค และ มีความงาม
ในที่สุด หมายถึงพระนิพพาน (ที.สี.อ. 1/190/159)
2 พรหมจรรย์ หมายถึงความประพฤติประเสริฐ มีนัย 10 ประการ คือ ทาน (การให้) เวยยาวัจจะ (การ
ขวนขวายช่วยเหลือ) ปัญจสีละ (ศีลห้า) อัปปมัญญา (การประพฤติพรหมวิหารอย่างไม่มีขอบเขต)
เมถุนวิรัติ (การงดเว้นจากการเสพเมถุน) สทารสันโดษ (ความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน) วิริยะ (ความเพียร)
อุโปสถังคะ (องค์อุโบสถ) อริยมรรค (ทางอันประเสริฐ) และศาสนา (พระพุทธศาสนา) ในที่นี้หมายถึงศาสนา
(ที.สี.อ. 1/190/160-162)
3 บริสุทธิ์ หมายถึงไม่มีสิ่งเป็นโทษที่จะต้องนำออก บริบูรณ์ หมายถึงเต็มที่แล้วโดยไม่ต้องนำไปเพิ่มอีก
(ตามนัย วิ.อ. 1/1/121)
4 แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ หมายถึงรู้แจ้งธรรมโดยผลและเหตุด้วยปัญญา (องฺ.จตุกฺก.อ. 2/22/300)
5 มีฝ่ามือชุ่ม หมายถึงมีมือล้างสะอาดแล้วด้วยน้ำคือศรัทธา ถ้าคนไม่มีศรัทธาแม้จะล้างถึง 7 ครั้งก็ชื่อว่า
มีมือยังไม่ได้ล้าง มีมือสกปรก แต่คนมีศรัทธา แม้มีมือสกปรกก็ชื่อว่ามีมือสะอาดแล้ว (องฺ.ติก.อ. 2/42/
148)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :11 }