เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 1.ธนวรรค 6.วิตถตธนสูตร
สีลธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ1 เป็นผู้เว้นขาด
จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย2อันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า
สีลธนะ
หิริธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีหิริ คือ ละอายต่อกายทุจริต วจีทุจริต
มโนทุจริต ละอายต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า หิริธนะ
โอตตัปปธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีโอตตัปปะ คือ สะดุ้งกลัวต่อกายทุจริต
วจีทุจริต มโนทุจริต สะดุ้งกลัวต่อการประกอบบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย นี้เรียกว่า
โอตตัปปธนะ
สุตธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นพหูสูต ทรงสุตะ3 สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมาก
ซึ่งธรรมทั้งหลายที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงาม

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มและความพิสดารในอัฏฐกนิบาต ข้อ 41 (สังขิตตุโปสถสูตร) หน้า 303-304 ในเล่มนี้
2 สุราและเมรัย หมายถึงสุรา 5 อย่าง คือ (1) สุราแป้ง (2) สุราขนม (3) สุราข้าวสุก (4) สุราใส่เชื้อ
(5) สุราผสมเครื่องปรุง และเมรัย 5 อย่าง คือ (1) เครื่องดองดอกไม้ (2) เครื่องดองผลไม้ (3) เครื่องดอง
น้ำอ้อย (4) เครื่องดองผสมเครื่องปรุง (5) เครื่องดองน้ำผึ้ง (ขุ.ขุ.อ. 2/17-18)
ส่วนใน องฺ.ปญฺจก.อ. 3/179/69, องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/179/66 อธิบายว่า เมรัยมี 4 อย่าง กล่าวคือ
ไม่มีเครื่องดองผสมเครื่องปรุง
คำว่า ‘เว้นขาดจากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย’ อาจแปลได้อีกว่า ‘เว้นขาดจากการเสพสุรา
เมรัยและของมึนเมา’ ตามนัยนี้คือ ‘ตทุภยเมว (สุราเมรยํ) มทนียฏฺเฐน มชฺชํ, ยํ วา ปนฺมฺปิ กิฺจิ
มทนียํ’ แปลว่า สุราและเมรัยทั้งสองนั้นแหละ เป็นของมึนเมา เพราะเป็นเหตุให้เมา และยังมีสิ่งอื่นอีกที่
เป็นของมึนเมา (ขุ.ขุ.อ. 2/18)
3 สุตะ ในที่นี้หมายถึงนวังคสัตถุศาสน์ คำสอนของพระศาสดามีองค์ 9 คือ (1)สุตตะ ได้แก่ อุภโตวิภังค์
นิทเทส ขันธกะ ปริวาร พระสูตรในสุตตนิบาต และพุทธวจนะอื่น ๆ ที่มีชื่อว่าสุตตะ หรือสุตตันตะ
(2) เคยยะ ได้แก่ ความที่มีร้อยแก้ว และร้อยกรองผสมกัน หมายถึงพระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด โดยเฉพาะ
สคาถวรรค ในสังยุตตนิกาย (3) เวยยากรณะ ได้แก่ ความร้อยแก้วล้วน หมายเอาอภิธรรมปิฎกทั้งหมด
พระสูตรที่ไม่มีคาถา และพระพุทธพจน์อื่นใดที่ไม่จัดเข้าในองค์ 8 ข้อที่เหลือ (4) คาถา ได้แก่ ความ
ร้อยกรองล้วน หมายเอาธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนในสุตตนิบาตที่ไม่มีชื่อว่าเป็นสูตร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :10 }