เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. นีวรณวรรค 5. มาตาปุตตสูตร
ทำอันตรายแก่การบรรลุธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
เหมือนโผฏฐัพพะสตรีนี้เลย สัตว์ทั้งหลายกำหนัด ยินดี ติดใจ
หมกมุ่น พัวพันอยู่ในโผฏฐัพพะสตรี ตกอยู่ในโผฏฐัพพะสตรี
จึงเศร้าโศกตลอดกาลนาน
สตรีแม้เดินอยู่ก็ครอบงำจิตของบุรุษได้ แม้ยืนอยู่ ... แม้นั่งอยู่ แม้นอนอยู่ ...
แม้หลับอยู่ ... แม้หัวเราะอยู่ ... แม้พูดอยู่ ... แม้ขับร้องอยู่ ... แม้ร้องไห้อยู่ ...
แม้พองขึ้น ... แม้ตายแล้วก็ครอบงำจิตของบุรุษได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดว่า ‘เป็นบ่วงรวบรัดแห่งมาร’
เมื่อจะกล่าวให้ถูกก็พึงกล่าวถึงมาตุคาม1นั่นแลว่า ‘เป็นบ่วงรวบรัดแห่งมาร’
บุคคลสนทนากับเพชฌฆาตก็ดี
สนทนากับปีศาจก็ดี
ถูกต้องอสรพิษที่กัดแล้วตายก็ดี
ก็ยังไม่ร้ายแรงเท่าการสนทนาสองต่อสองกับมาตุคามเลย
สตรีทั้งหลายย่อมผูกพันบุรุษผู้ลุ่มหลง
ด้วยการมองดู การหัวเราะ
การนุ่งห่มไม่เรียบร้อย และการพูดอ่อนหวาน
มาตุคามนี้มิใช่จะผูกพันเพียงแค่นี้
แม้ตายไปแล้วพองขึ้น ก็ยังผูกพันได้
กามคุณ 5 นี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ
ซึ่งน่ารื่นรมย์ใจ ย่อมปรากฏในรูปสตรี
เหล่าชนผู้ถูกกาโมฆะ(ห้วงน้ำคือกาม) พัด
ไม่กำหนดรู้กาม ย่อมมีกาล (แห่งวัฏฏะ) คติ
และภพน้อยภพใหญ่ในวัฏฏสงสารเป็นเบื้องหน้า

เชิงอรรถ :
1 มาตุคาม หมายถึงหญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย (วิ.มหา. (แปล)
1/271/293)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :96 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. นีวรณวรรค 6. อุปัชฌายสูตร
ส่วนชนเหล่าใด กำหนดรู้กาม1
เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ เที่ยวไป
ชนเหล่านั้นผู้บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะ
เป็นผู้ถึงฝั่ง2ในโลก
มาตาปุตตสูตรที่ 5 จบ

6. อุปัชฌายสูตร
ว่าด้วยอุปัชฌาย์3
[56] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ของตนถึงที่อยู่ ได้กล่าว
ดังนี้ว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ กายของผมหนักขึ้น ทิศทั้งหลายไม่ปรากฏแก่ผม
ธรรมทั้งหลาย4ก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ผมถูกถีนมิทธะครอบงำจิต ไม่ยินดีประพฤติ
พรหมจรรย์ และมีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย”
ต่อมา ภิกษุนั้นพาภิกษุสัทธิวิหาริก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระพระภาคว่า “ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘เดี๋ยวนี้ กายของผมหนักขึ้น ทิศทั้งหลาย
ไม่ปรากฏแก่ผม ธรรมทั้งหลายก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ผม ผมถูกถีนมิทธะครอบงำจิต
ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และมีความสงสัยในธรรมทั้งหลาย”

เชิงอรรถ :
1 กำหนดรู้กาม ในที่นี้หมายถึงกำหนดรู้กามทั้งสอง คือ วัตถุกาม และกิเลสกาม ด้วยปริญญา 3 คือ
(1) ญาตปริญญา กำหนดรู้ด้วยให้เป็นสิ่งอันรู้แล้ว (2) ตีรณปริญญา กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา
(3) ปหานปริญญา กำหนดรู้ด้วยการละ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/55/30)
2 เป็นผู้ถึงฝั่ง ในที่นี้หมายถึงเป็นผู้บรรลุพระนิพพาน (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/55/30)
3 อุปัชฌาย์ หมายถึงครูผู้คอยเพ่งโทษน้อยใหญ่ ได้แก่ ผู้รับรองกุลบุตรเข้ารับการอุปสมบทในท่ามกลางภิกษุสงฆ์
และเป็นผู้คอยดูแลผิดและชอบ อบรมให้การศึกษา (วชฺชาวชฺชํ อุปนิชฺฌายตีติ อุปชฺฌาโย) (วิ.อ. 3/64-65/
32, สารตฺถ.ฏีกา 3/64/281)
4 ธรรมทั้งหลาย ในที่นี้หมายถึงสมถะ(การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ) และวิปัสสนา(ความเห็นแจ้ง) (องฺ.ปญฺจก.อ.
3/55/30)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :97 }