เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. นีวรณวรรค 5. มาตาปุตตสูตร
จึงมีความคุ้นเคยกัน เมื่อมีความคุ้นเคยกันจึงมีช่อง คนทั้งสองนั้นมีจิตได้ช่อง ไม่บอก
คืนสิกขา ไม่เปิดเผยความท้อแท้1 เสพเมถุนธรรม2แล้ว
ครั้งนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
คนทั้งสองคือภิกษุและภิกษุณีผู้เป็นมารดาเป็นบุตรกัน เข้าจำพรรษาในกรุง
สาวัตถีนี้ คนทั้งสองนั้นใคร่จะเห็นกันเนือง ๆ แม้มารดาก็ใคร่จะเห็นบุตรเนือง ๆ
แม้บุตรก็ใคร่จะเห็นมารดาเนือง ๆ เพราะการเห็นกันเนือง ๆ ของคนทั้งสองนั้น
จึงมีความคลุกคลีกัน เมื่อมีความคลุกคลีกัน จึงมีความคุ้นเคยกัน เมื่อมีความ
คุ้นเคยกันจึงมีช่อง คนทั้งสองนั้นมีจิตได้ช่อง ไม่บอกคืนสิกขา ไม่เปิดเผยความ
ท้อแท้ เสพเมถุนธรรมแล้ว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษนั้นย่อมสำคัญหรือหนอว่า
‘มารดาย่อมไม่กำหนัดในบุตร หรือบุตรย่อมไม่กำหนัดในมารดา’
1. เราไม่เห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่เกิดความกำหนัด เกิดความใคร่
เกิดความมัวเมา เกิดความผูกพัน เกิดความหมกมุ่น ทำอันตราย
แก่การบรรลุธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม เหมือน
รูปสตรีนี้เลย สัตว์ทั้งหลายกำหนัด ยินดี ติดใจ หมกมุ่น พัวพันอยู่
ในรูปสตรี ตกอยู่ใต้อำนาจรูปสตรี จึงเศร้าโศกตลอดกาลนาน
2. เราไม่เห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่ง ...
3. เราไม่เห็นกลิ่นอื่นแม้อย่างหนึ่ง ...
4. เราไม่เห็นรสอื่นแม้อย่างหนึ่ง ...
5. เราไม่เห็นโผฏฐัพพะอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นที่เกิดความกำหนัด
เกิดความใคร่ เกิดความมัวเมา เกิดความผูกพัน เกิดความหมกมุ่น

เชิงอรรถ :
1 ไม่เปิดเผยความท้อแท้ (ทุพฺพลฺยํ อนาวิกตฺวา) หมายถึงไม่ประกาศความท้อแท้เบื่อหน่ายในการประพฤติ
พรหมจรรย์ ดู วิ.มหา. (แปล) 1/45-54/33-42
2 เมถุนธรรม หมายถึงการร่วมประเวณี การร่วมสังวาส กล่าวคือการเสพอสัทธรรมอันเป็นประเวณีของชาว
บ้าน มีน้ำเป็นที่สุด เป็นกิจที่ทำในที่ลับ ต้องทำกันสองต่อสอง ดู วิ.มหา. (แปล) 1/55/42

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :95 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. นีวรณวรรค 5. มาตาปุตตสูตร
ทำอันตรายแก่การบรรลุธรรมที่เป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
เหมือนโผฏฐัพพะสตรีนี้เลย สัตว์ทั้งหลายกำหนัด ยินดี ติดใจ
หมกมุ่น พัวพันอยู่ในโผฏฐัพพะสตรี ตกอยู่ในโผฏฐัพพะสตรี
จึงเศร้าโศกตลอดกาลนาน
สตรีแม้เดินอยู่ก็ครอบงำจิตของบุรุษได้ แม้ยืนอยู่ ... แม้นั่งอยู่ แม้นอนอยู่ ...
แม้หลับอยู่ ... แม้หัวเราะอยู่ ... แม้พูดอยู่ ... แม้ขับร้องอยู่ ... แม้ร้องไห้อยู่ ...
แม้พองขึ้น ... แม้ตายแล้วก็ครอบงำจิตของบุรุษได้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดว่า ‘เป็นบ่วงรวบรัดแห่งมาร’
เมื่อจะกล่าวให้ถูกก็พึงกล่าวถึงมาตุคาม1นั่นแลว่า ‘เป็นบ่วงรวบรัดแห่งมาร’
บุคคลสนทนากับเพชฌฆาตก็ดี
สนทนากับปีศาจก็ดี
ถูกต้องอสรพิษที่กัดแล้วตายก็ดี
ก็ยังไม่ร้ายแรงเท่าการสนทนาสองต่อสองกับมาตุคามเลย
สตรีทั้งหลายย่อมผูกพันบุรุษผู้ลุ่มหลง
ด้วยการมองดู การหัวเราะ
การนุ่งห่มไม่เรียบร้อย และการพูดอ่อนหวาน
มาตุคามนี้มิใช่จะผูกพันเพียงแค่นี้
แม้ตายไปแล้วพองขึ้น ก็ยังผูกพันได้
กามคุณ 5 นี้ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ
ซึ่งน่ารื่นรมย์ใจ ย่อมปรากฏในรูปสตรี
เหล่าชนผู้ถูกกาโมฆะ(ห้วงน้ำคือกาม) พัด
ไม่กำหนดรู้กาม ย่อมมีกาล (แห่งวัฏฏะ) คติ
และภพน้อยภพใหญ่ในวัฏฏสงสารเป็นเบื้องหน้า

เชิงอรรถ :
1 มาตุคาม หมายถึงหญิงมนุษย์ ไม่ใช่นางยักษ์ ไม่ใช่นางเปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย (วิ.มหา. (แปล)
1/271/293)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :96 }