เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. นีวรณวรรค 4. สมยสูตร
4. สมยสูตร
ว่าด้วยสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร
[54] ภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร 5 ประการนี้
สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นคนแก่ ถูกชราครอบงำ นี้เป็นสมัยที่ไม่ควร
บำเพ็ญเพียรประการที่ 1
2. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้อาพาธ ถูกพยาธิครอบงำ นี้เป็นสมัยที่ไม่
ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ 2
3. สมัยที่มีภิกษาหาได้ยาก ข้าวกล้าเสียหาย บิณฑบาตได้ยาก จึงไม่
สะดวกแก่การแสวงหาเลี้ยงชีพ นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร
ประการที่ 3
4. สมัยที่มีภัย มีการปล้นสะดมในดง ชาวชนบทพากันขึ้นยานพาหนะ
อพยพไป นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ 4
5. สมัยที่สงฆ์แตกแยกกัน เมื่อสงฆ์แตกแยกกัน จึงมีการด่ากัน
มีการบริภาษกัน มีการใส่ร้ายกัน มีการทอดทิ้งกัน หมู่คนที่ยังไม่
เลื่อมใสในสงฆ์นั้นก็ไม่เลื่อมใส และหมู่คนที่เลื่อมใสแล้วก็กลาย
เป็นอื่นไป นี้เป็นสมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ 5
ภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ไม่ควรบำเพ็ญเพียร 5 ประการ นี้แล
ภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร 5 ประการนี้
สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ยังเป็นคนหนุ่มแน่น มีผมดำสนิท ประกอบ
ด้วยความเป็นหนุ่มกำลังเจริญ ดำรงอยู่ในปฐมวัย นี้เป็นสมัยที่
ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ 1
2. ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุ
สำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง
เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ 2

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :93 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. นีวรณวรรค 5. มาตาปุตตสูตร
3. สมัยที่มีภิกษาหาได้ง่าย ข้าวกล้าดี บิณฑบาตได้ง่าย สะดวกแก่
การแสวงหาเลี้ยงชีพ นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ 3
4. สมัยที่คนทั้งหลายพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือน
น้ำนมกับน้ำ มองกันด้วยนัยน์ตาที่เปี่ยมด้วยความรักอยู่ นี้เป็นสมัยที่
ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ 4
5. สมัยที่สงฆ์พร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน มีอุทเทสที่
สวดร่วมกัน1 อยู่ผาสุก เมื่อสงฆ์พร้อมเพรียงกัน จึงไม่มีการด่ากัน
ไม่มีการบริภาษกัน ไม่มีการใส่ร้ายกัน ไม่มีการทอดทิ้งกัน หมู่คน
ที่ยังไม่เลื่อมใสในสงฆ์นั้นก็เลื่อมใส และหมู่คนที่เลื่อมใสแล้วก็
เลื่อมใสยิ่งขึ้น นี้เป็นสมัยที่ควรบำเพ็ญเพียรประการที่ 5
ภิกษุทั้งหลาย สมัยที่ควรบำเพ็ญเพียร 5 ประการนี้แล
สมยสูตรที่ 4 จบ

5. มาตาปุตตสูตร
ว่าด้วยมารดากับบุตร
[55] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล คนทั้งสอง คือภิกษุและภิกษุณี
ผู้เป็นมารดาเป็นบุตรกัน เข้าจำพรรษาในกรุงสาวัตถี คนทั้งสองนั้นใคร่จะเห็นกัน
เนือง ๆ แม้มารดาก็ใคร่จะเห็นบุตรเนือง ๆ แม้บุตรก็ใคร่จะเห็นมารดาเนือง ๆ เพราะ
การเห็นกันเนือง ๆ ของคนทั้งสองนั้น จึงมีความคลุกคลีกัน เมื่อมีความคลุกคลีกัน

เชิงอรรถ :
1 มีอุทเทสที่สวดร่วมกัน ในที่นี้หมายถึงมีการยกปาติโมกขุทเทส 5 ประการ (1) นิทานุทเทส (2) ปาราชิ-
กุทเทส (3) สังฆาทิเสสุทเทส (4) อนิยตุทเทส (5) วิตถารุทเทส เฉพาะอุทเทสที่ 5 นั้น รวมเอานิสสัคคิ-
ยุทเทส ปาจิตยุทเทส ปาฏิเทสนิยุทเทส เสขิยุทเทส และสมถุทเทสเข้าไว้ด้วย) ขึ้นสวดร่วมกัน (วิ.อ. 1/55/
278)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :94 }