เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. นีวรณวรรค 2. อกุสลราสิสูตร
เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นละนิวรณ์เครื่องกางกั้น 5 ประการนี้ที่ครอบงำจิต ทอนกำลัง
ปัญญาได้แล้วจักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้ประโยชน์ทั้งสอง หรือจักทำ
ให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วย
ปัญญาที่มีกำลังได้ ฉันนั้น
อาวรณสูตรที่ 1 จบ

2. อกุสลราสิสูตร
ว่าด้วยกองอกุศล
[52] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองอกุศล เมื่อจะกล่าวให้ถูก
พึงกล่าวถึงนิวรณ์(ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี) 5 ประการ เพราะกองอกุศล
ทั้งสิ้น คือ นิวรณ์ 5 ประการ
นิวรณ์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กามฉันทะ 2. พยาบาท
3. ถีนมิทธะ 4. อุทธัจจกุกกุจจะ
5. วิจิกิจฉา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองอกุศล เมื่อจะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวถึง
นิวรณ์ 5 ประการนี้ เพราะกองอกุศลทั้งสิ้น คือ นิวรณ์ 5 ประการ
อกุสลราสิสูตรที่ 2 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :91 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. นีวรณวรรค 3. ปธานิยังสูตร
3. ปธานิยังคสูตร
ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร
[53] ภิกษุทั้งหลาย องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร 5 ประการนี้
องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาเครื่องตรัสรู้1ของพระตถาคตว่า
‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม
เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็น
พระผู้มีพระภาค’
2. เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคเบาบาง ประกอบด้วยไฟธาตุสำหรับย่อย
อาหารสม่ำเสมอ ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก ปานกลาง เหมาะแก่การ
บำเพ็ญเพียร
3. เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ทำตนให้เปิดเผยตามความเป็นจริงใน
ศาสดา หรือในเพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย
4. เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้กุศลธรรมเกิด
มีความเข้มแข็ง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม
ทั้งหลายอยู่
5. เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็น
ทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้น
ทุกข์โดยชอบ2
ภิกษุทั้งหลาย องค์ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร 5 ประการนี้แล
ปธานิยังคสูตรที่ 3 จบ

เชิงอรรถ :
1 ปัญญาเครื่องตรัสรู้ (โพธิ) หมายถึงมัคคญาณ (ญาณในอริยมรรค คือ ความหยั่งรู้ที่ให้สำเร็จภาวะอริย-
บุคคล แต่ละชั้น) 4 ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/53/29)
2 ดู เสนาสนสูตร ใน องฺ.ทสก. (แปล) 24/11/17

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :92 }