เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. นีวรณวรรค 1. อาวรณสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นยังละนิวรณ์เครื่องกางกั้น 5 ประการ
นี้ที่ครอบงำจิต ทอนกำลังปัญญาไม่ได้แล้วจักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้
ประโยชน์ทั้งสอง หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ1อันวิเศษ
ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์2ด้วยปัญญาที่ไม่มีกำลังที่อ่อนกำลังได้
เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขาไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดสิ่งที่จะพัด
ไปได้ บุรุษพึงเปิดปากเหมืองทั้ง 2 ข้างแห่งแม่น้ำนั้น เมื่อเปิดปากเหมืองแล้ว
อย่างนี้ กระแสน้ำในท่ามกลางแม่น้ำนั้นก็ซัดส่ายไหลผิดทาง ไหลไปสู่ที่ไกลไม่ได้
ไม่มีกระแสเชี่ยว และไม่พัดสิ่งที่พอจะพัดไปได้ ฉันใด
เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นยังละนิวรณ์เครื่องกางกั้น 5 ประการนี้ที่ครอบงำจิต
ทอนกำลังปัญญาไม่ได้แล้วจักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้ประโยชน์ทั้งสอง
หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์
ด้วยปัญญาที่ไม่มีกำลังที่อ่อนกำลังได้ ฉันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นละนิวรณ์เครื่องกางกั้น 5 ประการนี้ที่
ครอบงำจิต ทอนกำลังปัญญาได้แล้วจักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้ประโยชน์
ทั้งสอง หรือจักทำให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรม
ของมนุษย์ด้วยปัญญาที่มีกำลังได้
เปรียบเหมือนแม่น้ำที่ไหลลงจากภูเขาไปสู่ที่ไกล มีกระแสเชี่ยว พัดสิ่งที่พอ
จะพัดไปได้ บุรุษพึงปิดปากเหมืองทั้ง 2 ข้างแห่งแม่น้ำนั้น เมื่อปิดปากเหมืองแล้ว
อย่างนี้ กระแสน้ำในท่ามกลางแม่น้ำนั้นก็ไม่ซัดส่ายไม่ไหลผิดทาง ไหลไปสู่ที่ไกลได้
มีกระแสเชี่ยว และพัดสิ่งที่พอจะพัดไปได้ ฉันใด

เชิงอรรถ :
1 ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ หมายถึงมหัคคตโลกุตตรปัญญาอันประเสริฐบริสุทธิ์สูงสุด สามารถ
กำจัดกิเลสได้ (องฺ.ทสก.อ. 3/48/350)
2 ธรรมของมนุษย์ ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ 10 ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/51/28)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :90 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 1. นีวรณวรรค 2. อกุสลราสิสูตร
เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นละนิวรณ์เครื่องกางกั้น 5 ประการนี้ที่ครอบงำจิต ทอนกำลัง
ปัญญาได้แล้วจักรู้ประโยชน์ตน รู้ประโยชน์ผู้อื่น รู้ประโยชน์ทั้งสอง หรือจักทำ
ให้แจ้งซึ่งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถอันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วย
ปัญญาที่มีกำลังได้ ฉันนั้น
อาวรณสูตรที่ 1 จบ

2. อกุสลราสิสูตร
ว่าด้วยกองอกุศล
[52] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองอกุศล เมื่อจะกล่าวให้ถูก
พึงกล่าวถึงนิวรณ์(ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี) 5 ประการ เพราะกองอกุศล
ทั้งสิ้น คือ นิวรณ์ 5 ประการ
นิวรณ์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กามฉันทะ 2. พยาบาท
3. ถีนมิทธะ 4. อุทธัจจกุกกุจจะ
5. วิจิกิจฉา
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเมื่อจะกล่าวถึงกองอกุศล เมื่อจะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวถึง
นิวรณ์ 5 ประการนี้ เพราะกองอกุศลทั้งสิ้น คือ นิวรณ์ 5 ประการ
อกุสลราสิสูตรที่ 2 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :91 }