เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. มุณฑราชวรรค 10. นารทสูตร
ของสัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็แก่ไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มี
ความแก่เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก
คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง
การงานก็จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มี
ความแก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร
ไม่ทุบอก ไม่คร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ ถอนลูกศร
คือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับทำตนนั่นเองให้เดือดร้อน อริยสาวก
ผู้ไม่มีความโศก ปราศจากลูกศร ย่อมดับทุกข์ได้ด้วยตนเอง
สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ... สิ่งที่มี
ความตายเป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมตายไป ... สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ... สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา
ของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาฉิบ
หายไปแล้ว อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดา
ของเราคนเดียวเท่านั้นที่ฉิบหายไป แท้จริง สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของ
สัตว์ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ฉิบหายไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มี
ความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก
คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง
การงานก็จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มี
ความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว อริยสาวกนั้นย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก
ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอก ไม่คร่ำครวญ ไม่หลงงมงาย นี้เรียกว่า อริยสาวกผู้ได้สดับ
ถอนลูกศรคือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ทำตนเองให้เดือดร้อน
อริยสาวกผู้ไม่มีความโศก ปราศจากลูกศร ย่อมดับทุกข์ได้ด้วยตนเอง
ขอถวายพระพร มหาบพิตร ฐานะ 5 ประการนี้แล อันสมณะ พราหมณ์
เทวดา มาร พรหม หรือ ใคร ๆ ในโลกนี้ไม่พึงได้
ท่านพระนารทะ ครั้นกล่าวเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์
ต่อไปอีกว่า


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :86 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. มุณฑราชวรรค 10. นารทสูตร
ประโยชน์แม้เล็กน้อยในโลกนี้
ใคร ๆ ย่อมไม่ได้ด้วยความเศร้าโศก
ย่อมไม่ได้ด้วยความคร่ำครวญ
พวกศัตรูทราบว่า เขาเศร้าโศก เป็นทุกข์
ย่อมดีใจ
แต่ในกาลใด บัณฑิตฉลาดในการวินิจฉัยเหตุผล
ไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหลาย
ในกาลนั้น พวกศัตรูเห็นหน้าซึ่งไม่ผิดปกติ
ของบัณฑิตนั้น ผู้ยังยิ้มแย้มตามเคย
ย่อมเป็นทุกข์
บัณฑิตพึงได้ประโยชน์ในที่ใด ๆ ด้วยวิธีใด ๆ
คือด้วยการสรรเสริญ ด้วยการร่ายมนตร์
ด้วยการกล่าวคำสุภาษิต ด้วยการให้
หรือด้วยการอ้างประเพณี
ก็พึงบากบั่นในที่นั้น ๆ ด้วยวิธีนั้น ๆ
ถ้าทราบว่า ‘ประโยชน์นี้ เราหรือคนอื่นไม่พึงได้’
เธอผู้ไม่เศร้าโศก ควรอดทนโดยพิจารณาว่า
‘เราได้ทำงานอย่างมุ่งมั่นแล้ว
บัดนี้ เราจะทำอย่างไร’
เมื่อท่านพระนารทะกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเจ้ามุณฑะได้ตรัสถามว่า “ธรรม
บรรยายนี้ชื่ออะไร” ท่านพระนารทะถวายพระพรว่า “ขอถวายพระพร ธรรม
บรรยายนี้ชื่อเหตุถอนลูกศรคือความโศก”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :87 }