เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. มุณฑราชวรรค 10. นารทสูตร
พระนางภัททาราชเทวีตลอดคืนตลอดวัน ขอท่านพระนารทะโปรดแสดงธรรมแก่
พระราชา โดยที่พระองค์ได้สดับธรรมของท่านแล้วจะทรงละลูกศรคือความโศกได้”
ท่านพระนารทะจึงกล่าวว่า “มหาอำมาตย์ บัดนี้ ขอให้พระราชาทรงทราบ
เวลาที่สมควร’
ลำดับนั้น โสการักขะมหาอำมาตย์ ลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทท่านพระนารทะ
ทำประทักษิณแล้ว ได้ไปเฝ้าพระเจ้ามุณฑะกราบทูลว่า “ขอเดชะ ท่านพระนารทะได้
เปิดโอกาสให้เสด็จไปแล้ว บัดนี้ ขอพระองค์ทรงทราบเวลาที่สมควรเถิด พระเจ้าข้า”
พระเจ้ามุณฑะรับสั่งว่า “ท่านอำมาตย์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงให้พนักงานตระ
เตรียมพาหนะอย่างดีไว้”
มหาอำมาตย์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการแล้ว ให้พนักงานตระเตรียม
พระราชพาหนะอย่างดีไว้เสร็จแล้วจึงกราบทูลว่า “ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้าได้ให้
พนักงานตระเตรียมพระราชพาหนะอย่างดีไว้เสร็จแล้ว บัดนี้ ขอพระองค์ทรงทราบ
เวลาที่สมควรเถิด พระเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระเจ้ามุณฑะเสด็จพระราชดำเนินไปสู่กุกกุฏารามเพื่อพบท่าน
พระนารทะ ด้วยราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ เสด็จไปเท่าที่พระราชพาหนะจะไปได้ เมื่อ
เสด็จถึงแล้ว ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินเข้าไปยังอาราม ทรงเข้าไปพบท่านพระนารทะ
ทรงถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ท่านพระนารทะจึงได้ถวายพระพร
ท้าวเธอว่า
ขอถวายพระพร มหาบพิตร ฐานะ 5 ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์
เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกนี้ไม่พึงได้
ฐานะ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าแก่
2. ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าเจ็บไข้
3. ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าตาย
4. ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อย่าสิ้นไป
5. ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา อย่าฉิบหาย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :84 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. มุณฑราชวรรค 10. นารทสูตร
สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มีความ
แก่เป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็น
ธรรมดาของเราคนเดียวเท่านั้นที่แก่ไป แท้จริง สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของสัตว์
ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็แก่ไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มีความแก่
เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ
หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง การงานก็
จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็น
ธรรมดาแก่ไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย
นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศรคือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงแล้ว ย่อมทำตน
นั่นเองให้เดือดร้อน
สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ... สิ่งที่มี
ความตายเป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมตายไป ... สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ... สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของ
ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมฉิบหายไป เมื่อสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหาย
ไปแล้ว เขาไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของเรา
คนเดียวเท่านั้นที่ฉิบหายไป แท้จริง สิ่งที่มีความฉิบหายไปเป็นธรรมดาของสัตว์
ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ก็ฉิบหายไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มีความ
ฉิบหายไปเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก
คร่ำครวญ หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง
การงานก็จะหยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความ
ฉิบหายเป็นธรรมดา ฉิบหายไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก
คร่ำครวญ หลงงมงาย นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศรคือความโศกที่มีพิษ
ทิ่มแทงแล้ว ย่อมทำตนนั่นเองให้เดือดร้อน
ส่วนสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มี
ความแก่ไปเป็นธรรมดาแก่ไปแล้ว อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มี
ความแก่เป็นธรรมดาของเราคนเดียวเท่านั้นที่แก่ไป แท้จริง สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :85 }