เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. มุณฑราชวรรค 10. นารทสูตร
ฐานะ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา อย่าแก่
ฯลฯ1
ประโยชน์แม้เล็กน้อยในโลกนี้
ใคร ๆ ย่อมไม่ได้ด้วยความเศร้าโศก
ย่อมไม่ได้ด้วยความคร่ำครวญ
ฯลฯ2
เธอผู้ไม่เศร้าโศกควรอดทนโดยพิจารณาว่า
‘เราได้ทำงานอย่างมุ่งมั่นแล้ว
บัดนี้ เราจะทำอย่างไร’
โกสลสูตรที่ 9 จบ

10. นารทสูตร
ว่าด้วยพระนารทะ
[50] สมัยหนึ่ง ท่านพระนารทะอยู่ที่กุกกุฏาราม เขตกรุงปาตลีบุตร
ก็สมัยนั้น พระนางภัททาราชเทวีผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ามุณฑะ
สวรรคตแล้ว เมื่อพระนางภัททาราชเทวีสวรรคตแล้ว พระองค์ก็ไม่สรงสนาน ไม่แต่ง
พระองค์ ไม่เสวยพระกระยาหาร ไม่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ซบอยู่ที่
พระศพของพระนางตลอดคืนตลอดวัน ลำดับนั้น พระเจ้ามุณฑะได้รับสั่งเรียก
มหาอำมาตย์ชื่อว่าโสการักขะผู้เป็นที่รักมาตรัสว่า “ท่านโสการักขะ ผู้เป็นที่รัก
ท่านจงยกพระศพพระนางภัททาราชเทวีใส่ไว้ในรางเหล็กที่เต็มด้วยน้ำมันแล้วเอา
รางเหล็กอื่นปิดไว้ เพื่อเราจะได้เห็นศพพระนางให้นาน ๆ”
โสการักขะมหาอำมาตย์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการแล้ว จึงจัดการยก
พระศพพระนางใส่ไว้ในรางเหล็กที่เต็มไปด้วยน้ำมันแล้วเอารางเหล็กอื่นปิดไว้

เชิงอรรถ :
1,2 ดูความเต็มในข้อ 48 (ฐานสูตร) หน้า 78-81 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :82 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. มุณฑราชวรรค 10. นารทสูตร
ครั้งนั้น โสการักขะมหาอำมาตย์ได้มีความคิดว่า “พระนางภัททาราชเทวี ผู้เป็น
ที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ามุณฑะนี้ได้สวรรคตแล้ว เมื่อพระนางสวรรคต
พระราชาก็ไม่สรงสนาน ไม่แต่งพระองค์ ไม่เสวยพระกระยาหาร ไม่ทรงประกอบ
พระราชกรณียกิจ ทรงซบอยู่ที่พระศพของพระนางตลอดคืนตลอดวัน พระองค์พึง
เสด็จเข้าไปหาสมณะหรือพราหมณ์รูปไหนหนอ ทรงสดับธรรมแล้ว จะพึงละลูกศร
คือความโศกได้”
ลำดับนั้น โสการักขะมหาอำมาตย์ได้คิดต่อไปว่า “ท่านพระนารทะรูปนี้
อยู่ที่กุกกุฏาราม เขตกรุงปาตลีบุตร กิตติศัพท์อันงามของท่านขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า
‘เป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต กล่าวถ้อยคำไพเราะ
มีปฏิภาณดี เป็นพระผู้ใหญ่ และเป็นพระอรหันต์’ จึงควรที่พระเจ้ามุณฑะจะเสด็จ
เข้าไปหาท่าน เพื่อบางทีได้ทรงสดับธรรมของท่านแล้ว จะทรงละลูกศรคือความโศก
ได้บ้าง”
ต่อมา โสการักขะมหาอำมาตย์ ได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้ามุณฑะแล้วกราบทูลว่า
“ขอเดชะ ท่านพระนารทะรูปนี้อยู่ที่กุกกุฏาราม เขตกรุงปาตลีบุตร กิตติศัพท์
อันงามของท่านพระนารทะขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า ‘เป็นบัณฑิต เป็นผู้ฉลาด เป็น
นักปราชญ์ เป็นพหูสูต กล่าวถ้อยคำไพเราะ มีปฏิภาณดี เป็นพระผู้ใหญ่ และเป็น
พระอรหันต์’ จึงควรที่พระองค์จะเสด็จเข้าไปหาท่าน เพื่อบางทีพระองค์ได้ทรงสดับ
ธรรมของท่านแล้วจะทรงละลูกศรคือความโศกได้บ้าง”
พระเจ้ามุณฑะจึงรับสั่งว่า “ท่านอำมาตย์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปกราบเรียน
ท่านพระนารทะให้ทราบก่อน เพราะกษัตริย์เช่นเราพึงเข้าใจว่า สมณะหรือพราหมณ์
ที่อยู่ในราชอาณาจักร ยังไม่ได้แจ้งให้ทราบก่อนจะพึงเข้าไปหาได้อย่างไร”
มหาอำมาตย์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการแล้ว ได้เข้าไปพบท่านพระ
นารทะถึงที่อยู่ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบเรียนว่า “ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ พระนางภัททาราชเทวีผู้เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยของพระเจ้ามุณฑะนี้
ได้สวรรคตแล้ว เมื่อพระนางสวรรคต พระราชาก็ไม่สรงสนาน ไม่แต่งพระองค์
ไม่เสวยพระยาหาร ไม่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ ทรงซบอยู่ที่พระศพของ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :83 }