เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
1. เสขพลวรรค 6. สมาปัตติสูตร

ฐานะ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. มีศรัทธาในกุศลธรรม 2. มีหิริในกุศลธรรม
3. มีโอตตัปปะในกุศลธรรม 4. มีวิริยะในกุศลธรรม
5. มีปัญญาในกุศลธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ 5 ประการ พร้อมทั้งเหตุที่น่าสรรเสริญในปัจจุบัน
ย่อมมาถึงภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป แม้มีทุกข์ แม้มีโทมนัส ร้องไห้น้ำตานองหน้าอยู่
ก็ยังประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้

สิกขาสูตรที่ 5 จบ

6. สมาปัตติสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมเข้ามาได้

[6] ภิกษุทั้งหลาย
1. อกุศลธรรมเข้ามาไม่ได้ตลอดเวลาที่ศรัทธาในกุศลธรรมทั้งหลาย
ยังตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด ศรัทธาเสื่อมหายไป ความไม่มีศรัทธา
กลุ้มรุมอยู่ เมื่อนั้น อกุศลธรรมก็เข้ามาได้
2. อกุศลธรรมเข้ามาไม่ได้ตลอดเวลาที่หิริในกุศลธรรมทั้งหลายยังตั้ง
มั่นอยู่ แต่เมื่อใด หิริเสื่อมหายไป ความไม่มีหิริกลุ้มรุมอยู่ เมื่อนั้น
อกุศลธรรมก็เข้ามาได้
3. อกุศลธรรมเข้ามาไม่ได้ตลอดเวลาที่โอตตัปปะในกุศลธรรมทั้งหลายยัง
ตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด โอตตัปปะเสื่อมหายไป ความไม่มีโอตตัปปะ
กลุ้มรุมอยู่ เมื่อนั้น อกุศลธรรมก็เข้ามาได้
4. อกุศลธรรมเข้ามาไม่ได้ตลอดเวลาที่วิริยะในกุศลธรรมทั้งหลายยัง
ตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด วิริยะเสื่อมหายไป ความเกียจคร้านกลุ้มรุมอยู่
เมื่อนั้น อกุศลธรรมก็เข้ามาได้
5. อกุศลธรรมเข้ามาไม่ได้ตลอดเวลาที่ปัญญาในกุศลธรรมทั้งหลาย
ยังตั้งมั่นอยู่ แต่เมื่อใด ปัญญาเสื่อมหายไป ความไม่มีปัญญา
กลุ้มรุมอยู่ เมื่อนั้น อกุศลธรรมก็เข้ามาได้

สมาปัตติสูตรที่ 6 จบ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์]
1. เสขพลวรรค 7. กามสูตร

7. กามสูตร
ว่าด้วยกาม

[7] ภิกษุทั้งหลาย โดยมาก สัตว์ทั้งหลายหมกมุ่นอยู่ในกาม1 กุลบุตรผู้ละ
เคียวและคานหาบหญ้าออกบวชเป็นบรรพชิต ควรเรียกว่า ‘กุลบุตรผู้มีศรัทธา
ออกบวช’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาควรได้กามด้วยความเป็นหนุ่ม และกาม
เหล่านั้นก็มีระดับ คือ กามเลว กามปานกลาง และกามประณีต2 แต่กามทั้งหมดก็
นับว่า ‘กาม’ ทั้งนั้น

เปรียบเหมือนเด็กอ่อนนอนหงาย เอาชิ้นไม้หรือชิ้นกระเบื้องใส่เข้าไปในปาก
เพราะความพลั้งเผลอของพี่เลี้ยง พี่เลี้ยงพึงใส่ใจในเด็กนั้นทันที รีบนำชิ้นไม้หรือ
ชิ้นกระเบื้องออกโดยเร็ว ถ้าไม่สามารถนำออกโดยเร็วได้ ก็เอามือซ้ายจับโดยเร็ว
งอนิ้วมือข้างขวาแล้วแยงเข้าไปนำออกมาทั้งที่ยังมีโลหิต ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
ความลำบากนั้นจะมีแก่เด็ก เราไม่กล่าวว่า ‘ไม่มีความลำบาก’ และพี่เลี้ยงผู้หวัง
ประโยชน์เกื้อกูลอนุเคราะห์ พึงทำอย่างนั้นด้วยความอนุเคราะห์ แต่เมื่อใด เด็กนั้น
เจริญวัย มีปัญญาสามารถ เมื่อนั้น พี่เลี้ยงก็วางใจในเด็กนั้นว่า ‘บัดนี้ เด็กมีความ
สามารถรักษาตนเองได้ ไม่ประมาท’ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ที่เราต้องรักษาตลอดเวลา
ที่เธอยัง