เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. มุณฑราชวรรค 7. ธนสูตร
จาคธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน
มีจาคะอันสละแล้ว มีฝ่ามือชุ่ม1 ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการ
แจกทาน นี้เรียกว่า จาคธนะ
ปัญญาธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญาเป็น
เครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับอันเป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความ
สิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญาธนะ
ภิกษุทั้งหลาย ทรัพย์ 5 ประการนี้แล
ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่นไม่หวั่นไหวในตถาคต
มีศีลงาม เป็นศีลที่พระอริยใคร่ (และ)สรรเสริญ
มีความเลื่อมใสในสงฆ์ และมีความเห็นตรง
บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า ‘เป็นคนไม่ขัดสน
ชีวิตของเขาไม่สูญเปล่า’
เพราะฉะนั้น ผู้มีปัญญา
เมื่อระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ควรประกอบศรัทธา ศีล ความเลื่อมใส
และการเห็นธรรม2
ธนสูตรที่ 7 จบ

เชิงอรรถ :
1 มีฝ่ามือชุ่ม อรรถกถาอธิบายว่า ถ้าคนไม่มีศรัทธา แม้จะล้างมือถึง 7 ครั้ง ก็ชื่อว่ามีมือยังไม่ล้าง มีมือสกปรก
แต่คนมีศรัทธา แม้มีมือสกปรก ก็ชื่อว่าได้ล้างมือสะอาดแล้ว (องฺ.ติก.อ. 2/42/148)
2 การเห็นธรรม ในที่นี้หมายถึงเห็นอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (องฺ.จตุกฺก.อ. 2/52/349)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :77 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. มุณฑราชวรรค 8. ฐานสูตร
8. ฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ใคร ๆ ไม่พึงได้
[48] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะ1 5 ประการนี้ อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร
พรหม หรือใคร ๆ ในโลกนี้ไม่พึงได้
ฐานะ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ขอสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา2 อย่าแก่
2. ขอสิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา อย่าเจ็บไข้
3. ขอสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา อย่าตาย
4. ขอสิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา อย่าสิ้นไป
5. ขอสิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดา อย่าฉิบหาย
สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมแก่ไป เมื่อสิ่งที่มีความ
แก่เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว เขาไม่พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ‘ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็น
ธรรมดาของเราคนเดียวเท่านั้นที่แก่ไป แท้จริง สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาของสัตว์
ทั้งปวงที่มีการมา การไป การจุติ และการอุบัติ ก็แก่ไปทั้งสิ้น เมื่อสิ่งที่มีความแก่
เป็นธรรมดา แก่ไปแล้ว ถ้าเราจะพึงเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ
หลงงมงาย อาหารเราก็จะไม่อยากรับประทาน กายก็จะเศร้าหมอง การงานก็จะ
หยุดชะงัก พวกศัตรูก็จะดีใจ และพวกมิตรก็จะเสียใจ’ เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็น
ธรรมดา แก่ไปแล้ว เขาย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ หลงงมงาย
นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ถูกลูกศรคือความโศกที่มีพิษทิ่มแทงแล้ว ย่อมทำตน
นั่นเองให้เดือดร้อน
สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมเจ็บไข้ ... สิ่งที่มี
ความตายเป็นธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมตายไป ... สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็น
ธรรมดาของปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ย่อมสิ้นไป ... สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาของ

เชิงอรรถ :
1 ฐานะ ในที่นี้หมายถึงเหตุ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/48/26)
2 ธรรมดา ในที่นี้หมายถึงสภาวธรรมที่เกิดเอง คำนี้มุ่งแสดงกฎแห่งเหตุผล (องฺ.ทสก.อ. 3/2/318)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :78 }