เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. มุณฑราชวรรค 6. สัมปทาสูตร
อันเป็นที่ขังน้ำขนาดใหญ่ประมาณไม่ได้
มีสิ่งที่น่ากลัวมาก เป็นแหล่งรัตนะชั้นเยี่ยม ฉันใด
สายธารแห่งบุญ ย่อมหลั่งไหลไปสู่นรชน
ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า
ที่นอน ที่นั่ง และเครื่องปูลาด
เปรียบเหมือนแม่น้ำคือห้วงน้ำไหลไปยังมหาสมุทร ฉันนั้น
ปุญญาภิสันทสูตรที่ 5 จบ

6. สัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา
[46] ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา (ความถึงพร้อม) 5 ประการนี้
สัมปทา 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
2. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
3. สุตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยสุตะ)
4. จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจาคะ)
5. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 5 ประการนี้แล
สัมปทาสูตรที่ 6 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :75 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. มุณฑราชวรรค 7. ธนสูตร
7. ธนสูตร
ว่าด้วยทรัพย์
[47] ภิกษุทั้งหลาย ธนะ(ทรัพย์) 5 ประการนี้
ธนะ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัทธาธนะ (ทรัพย์คือศรัทธา)
2. สีลธนะ (ทรัพย์คือศีล)
3. สุตธนะ (ทรัพย์คือสุตะ)
4. จาคธนะ (ทรัพย์คือจาคะ)
5. ปัญญาธนะ (ทรัพย์คือปัญญา)
สัทธาธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อปัญญาเครื่องตรัสรู้ของตถาคต
ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ1 เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระ
ผู้มีพระภาค’ นี้เรียกว่า สัทธาธนะ
สีลธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ2 เว้นขาด
จากการเสพของมึนเมาคือสุราและเมรัย3อันเป็นเหตุแห่งความประมาท นี้เรียกว่า
สีลธนะ
สุตธนะ เป็นอย่างไร
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เป็นพหูสูต ฯลฯ4 แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ นี้เรียกว่า
สุตธนะ

เชิงอรรถ :
1 ดูความเต็มในข้อ 2 (วิตถตสูตร) หน้า 2-3 ในเล่มนี้
2 ดูความเต็มในข้อ 32 (จุนทีสูตร) หน้า 49 ในเล่มนี้
3 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 32 หน้า 49 ในเล่มนี้
4 ดูความเต็มในข้อ 87 (สีลวันตสูตร) หน้า 155 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :76 }