เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. มุณฑราชวรรค 5. ปุญญาภิสันทสูตร
การกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้เพียบพร้อมด้วยห้วงบุญกุศล 5 ประการ
นี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุข
เป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจ’
มิใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญกุศลนั้นย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับ
ไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’
การกำหนดปริมาณของน้ำในมหาสมุทรว่า ‘น้ำมีปริมาณเท่านี้อาฬหกะ1 น้ำมี
ปริมาณเท่านี้ 100 อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ 1,000 อาฬหกะ หรือน้ำมีปริมาณ
เท่านี้ 100,000 อาฬหกะ’ มิใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ปริมาณของน้ำในมหาสมุทรนั้น
ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นห้วงน้ำใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย การกำหนดประมาณของอริยสาวกผู้เพียบพร้อมด้วยห้วงบุญ
กุศล 5 ประการนี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้
อารมณ์ดี มีสุขเป็นผลให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ’ มิใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญกุศลนั้นย่อมถึงการนับว่า
‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’ ฉันนั้น
แม่น้ำหลายสายคับคั่งไปด้วยหมู่ปลา
ไหลบ่าไปยังมหาสมุทร

เชิงอรรถ :
1 อาฬหกะ เป็นชื่อมาตราตวงชนิดหนึ่งของอินเดียโบราณ มีลำดับมาตราดังนี้
4 กุฑวะ หรือ ปสตะ (ฟายมือ) เป็น 1 ปัตถะ (กอบ)
4 ปัตถวะ เป็น 1 อาฬหกะ
4 อาฬหกะ เป็น 1 โทณะ
4 โทณะ เป็น 1 มาณิกา
4 มาณิกา เป็น 1 ขารี
20 ขารี เป็น 1 วาหะ (เกวียน)
20 วาหะ เป็น 1 ธารณะ
20 ธารณะ เป็น 1 ปละ
100 ปละ เป็น 12 ตุลา
20 ตุลา เป็น 1 ภาระ
(ดู อภิธา.ฏีกา คาถา 480-494)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :74 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. มุณฑราชวรรค 6. สัมปทาสูตร
อันเป็นที่ขังน้ำขนาดใหญ่ประมาณไม่ได้
มีสิ่งที่น่ากลัวมาก เป็นแหล่งรัตนะชั้นเยี่ยม ฉันใด
สายธารแห่งบุญ ย่อมหลั่งไหลไปสู่นรชน
ผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า
ที่นอน ที่นั่ง และเครื่องปูลาด
เปรียบเหมือนแม่น้ำคือห้วงน้ำไหลไปยังมหาสมุทร ฉันนั้น
ปุญญาภิสันทสูตรที่ 5 จบ

6. สัมปทาสูตร
ว่าด้วยสัมปทา
[46] ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา (ความถึงพร้อม) 5 ประการนี้
สัมปทา 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา)
2. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล)
3. สุตสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยสุตะ)
4. จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยจาคะ)
5. ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)
ภิกษุทั้งหลาย สัมปทา 5 ประการนี้แล
สัมปทาสูตรที่ 6 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :75 }