เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. มุณฑราชวรรค 5. ปุญญาภิสันทสูตร
5. ปุญญาภิสันทสูตร1
ว่าด้วยห้วงบุญกุศล
[45] ภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญกุศล2 5 ประการนี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อ
ให้ได้อารมณ์ดี3 มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ห้วงบุญกุศล 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุใช้สอยจีวรของทายกใด บรรลุเจโตสมาธิที่ประมาณไม่ได้อยู่4
ห้วงบุญกุศลของทายกนั้นประมาณไม่ได้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อ
ให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล
เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
2. ภิกษุฉันบิณฑบาตของทายกใด ...
3. ภิกษุใช้สอยวิหารของทายกใด ...
4. ภิกษุใช้สอยเตียงตั่งของทายกใด ...
5. ภิกษุใช้สอยคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารของทายกใด บรรลุเจโต-
สมาธิที่ประมาณไม่ได้อยู่ ห้วงบุญกุศลของทายกนั้นประมาณไม่ได้
นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล ให้เกิดในสวรรค์
เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ห้วงบุญกุศล 5 ประการนี้แล นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุข
เป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

เชิงอรรถ :
1 ดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/51/84
2 ห้วงบุญกุศล ในที่นี้หมายถึงผลบุญกุศลที่หลั่งไหลนำความสุขมาสู่ผู้บำเพ็ญอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย
(องฺ.จตุกฺก.อ. 2/51/348,องฺ.จตุกฺก.ฏีกา 2/51/382)
3 อารมณ์ดี ในที่นี้หมายถึงอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
(องฺ.จตุกฺก.อ. 2/51/348)
4 เจโตสมาธิที่ประมาณไม่ได้ ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผลสมาธิ (สมาธิในขั้นอรหัตตผล) (องฺ.จตุกฺก.อ.
2/51/348)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :73 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. มุณฑราชวรรค 5. ปุญญาภิสันทสูตร
การกำหนดประมาณบุญของอริยสาวกผู้เพียบพร้อมด้วยห้วงบุญกุศล 5 ประการ
นี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุข
เป็นผล ให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา น่าใคร น่าพอใจ’
มิใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญกุศลนั้นย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับ
ไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’
การกำหนดปริมาณของน้ำในมหาสมุทรว่า ‘น้ำมีปริมาณเท่านี้อาฬหกะ1 น้ำมี
ปริมาณเท่านี้ 100 อาฬหกะ น้ำมีปริมาณเท่านี้ 1,000 อาฬหกะ หรือน้ำมีปริมาณ
เท่านี้ 100,000 อาฬหกะ’ มิใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ปริมาณของน้ำในมหาสมุทรนั้น
ย่อมถึงการนับว่า ‘เป็นห้วงน้ำใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย การกำหนดประมาณของอริยสาวกผู้เพียบพร้อมด้วยห้วงบุญ
กุศล 5 ประการนี้ว่า ‘ห้วงบุญกุศลมีประมาณเท่านี้ นำสุขมาให้ เป็นไปเพื่อให้ได้
อารมณ์ดี มีสุขเป็นผลให้เกิดในสวรรค์ เป็นไปเพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขที่น่าปรารถนา
น่าใคร่ น่าพอใจ’ มิใช่จะทำได้ง่าย แท้จริง ห้วงบุญกุศลนั้นย่อมถึงการนับว่า
‘เป็นกองบุญใหญ่ที่นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้เลย’ ฉันนั้น
แม่น้ำหลายสายคับคั่งไปด้วยหมู่ปลา
ไหลบ่าไปยังมหาสมุทร

เชิงอรรถ :
1 อาฬหกะ เป็นชื่อมาตราตวงชนิดหนึ่งของอินเดียโบราณ มีลำดับมาตราดังนี้
4 กุฑวะ หรือ ปสตะ (ฟายมือ) เป็น 1 ปัตถะ (กอบ)
4 ปัตถวะ เป็น 1 อาฬหกะ
4 อาฬหกะ เป็น 1 โทณะ
4 โทณะ เป็น 1 มาณิกา
4 มาณิกา เป็น 1 ขารี
20 ขารี เป็น 1 วาหะ (เกวียน)
20 วาหะ เป็น 1 ธารณะ
20 ธารณะ เป็น 1 ปละ
100 ปละ เป็น 12 ตุลา
20 ตุลา เป็น 1 ภาระ
(ดู อภิธา.ฏีกา คาถา 480-494)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :74 }