เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. มุณฑราชวรรค 3. อิฏฐสูตร
และสมณพราหมณ์ เปรียบเหมือนมหาเมฆทำข้าวกล้าทั้งปวงให้งอกงาม ชื่อว่ามี
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก
สัตบุรุษครอบครองโภคทรัพย์
เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เทวดาย่อมรักษาเขาผู้มีธรรมคุ้มครองแล้ว
เป็นพหูสูต สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร
เกียรติย่อมไม่ละเขาผู้ตั้งอยู่ในธรรม
ใครเล่าจะสามารถติเตียนเขาผู้ตั้งอยู่ในธรรม
สมบูรณ์ด้วยศีล มีวาจาสัตย์
มีหิริ(ความละอายต่อบาป)ในใจ
ดุจแท่งทองชมพูนุท
แม้เทวดาก็ชม ถึงพรหมก็สรรเสริญเขา
สัปปุริสสูตรที่ 2 จบ

3. อิฏฐสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนา
[43] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี ธรรม 5 ประการนี้ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อายุที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
2. วรรณะที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
3. สุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :67 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. มุณฑราชวรรค 3. อิฏฐสูตร
4. ยศที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
5. สวรรค์ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
คหบดี ธรรม 5 ประการนี้แล ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม 5 ประการนี้ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก เรามิได้
กล่าวว่า จะพึงได้เพราะความอ้อนวอน หรือเพราะความปรารถนา ถ้าธรรม 5
ประการนี้ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก จักได้เพราะการ
อ้อนวอน หรือเพราะความปรารถนาในโลกนี้แล้ว ใครเล่าจะพึงเสื่อมจากอะไรได้
อริยสาวกผู้ต้องการอายุ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินอายุ หรือปฏิบัติ
ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่ออายุเพราะอายุเป็นเหตุ แท้จริงปฏิปทาอันเป็นไปเพื่ออายุที่
อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้อายุ อริยสาวกนั้นย่อมได้อายุอัน
เป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์
อริยสาวกผู้ต้องการวรรณะ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินวรรณะ หรือ
ปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อวรรณะเพราะวรรณะเป็นเหตุ แท้จริง ปฏิปทาอันเป็น
ไปเพื่อวรรณะที่อริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้วรรณะ อริยสาวกนั้น
ย่อมได้วรรณะอันเป็นทิพย์ หรือเป็นของมนุษย์
อริยสาวกผู้ต้องการสุข ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินสุข หรือปฏิบัติ
ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุขเพราะสุขเป็นเหตุ แท้จริง ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสุขที่อริย-
สาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้สุข อริยสาวกนั้นย่อมได้สุขอันเป็นทิพย์
หรือเป็นของมนุษย์
อริยสาวกผู้ต้องการยศ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินยศ หรือปฏิบัติ
ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศเพราะยศเป็นเหตุ แท้จริง ปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อยศที่อริย-
สาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้ยศ อริยสาวกนั้นย่อมได้ยศอันเป็นทิพย์
หรือเป็นของมนุษย์
คหบดี อริยสาวกผู้ต้องการสวรรค์ ไม่ควรอ้อนวอนหรือเพลิดเพลินสวรรค์
หรือปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อสวรรค์เพราะสวรรค์เป็นเหตุ แท้จริง ปฏิปทาอัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :68 }