เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. มุณฑราชวรรค 2. สัปปุริสสูตร
เอาประโยชน์จากโภคทรัพย์นี้แล้ว และโภคทรัพย์ของเราก็เพิ่มพูนขึ้น’ อริยสาวก
นั้นย่อมไม่มีวิปปฏิสารด้วยเหตุทั้ง 2 ประการนี้เลย
นรชนผู้จะต้องตายเมื่อคำนึงถึงเหตุนี้ว่า
‘โภคทรัพย์ เราได้บริโภคแล้ว
คนที่ควรเลี้ยง เราได้เลี้ยงแล้ว
อันตรายทั้งหลาย เราได้ข้ามพ้นแล้ว
ทักษิณาที่มีผลสูงขึ้นไป เราได้ให้แล้ว
และพลี 5 อย่าง เราได้ทำแล้ว
ท่านผู้มีศีลสำรวมระวัง ประพฤติพรหมจรรย์ เราได้บำรุงแล้ว
ประโยชน์ที่บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือนปรารถนา เราก็ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ
กรรมที่ไม่ก่อความเดือดร้อนในภายหลัง เราก็ได้ทำแล้ว’
ชื่อว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในอริยธรรม
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้
เขาตายไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
อาทิยสูตรที่ 1 จบ

2. สัปปุริสสูตร
ว่าด้วยสัตบุรุษ
[42] ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ชื่อว่าเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อ
เกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก คือ มารดา บิดา บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร คนใช้
มิตร อำมาตย์1 และสมณพราหมณ์
สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ชื่อว่าเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คน
หมู่มาก คือ แก่มารดา บิดา บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร คนใช้ มิตร อำมาตย์

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 40 (มหาสาลปุตตสูตร) หน้า 63 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :66 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. มุณฑราชวรรค 3. อิฏฐสูตร
และสมณพราหมณ์ เปรียบเหมือนมหาเมฆทำข้าวกล้าทั้งปวงให้งอกงาม ชื่อว่ามี
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก
สัตบุรุษครอบครองโภคทรัพย์
เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เทวดาย่อมรักษาเขาผู้มีธรรมคุ้มครองแล้ว
เป็นพหูสูต สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร
เกียรติย่อมไม่ละเขาผู้ตั้งอยู่ในธรรม
ใครเล่าจะสามารถติเตียนเขาผู้ตั้งอยู่ในธรรม
สมบูรณ์ด้วยศีล มีวาจาสัตย์
มีหิริ(ความละอายต่อบาป)ในใจ
ดุจแท่งทองชมพูนุท
แม้เทวดาก็ชม ถึงพรหมก็สรรเสริญเขา
สัปปุริสสูตรที่ 2 จบ

3. อิฏฐสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนา
[43] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี ธรรม 5 ประการนี้ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อายุที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
2. วรรณะที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
3. สุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :67 }