เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต 11. ติกวรรค 6. อัสสาทสูตร
6. อัสสาทสูตร
ว่าด้วยอัสสาททิฏฐิ1
[112] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อัสสาททิฏฐิ
2. อัตตานุทิฏฐิ2
3. มิจฉาทิฏฐิ3
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม 3 ประการ เพื่อละธรรม 3 ประการนี้
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุควรเจริญอนิจจสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่ง
สังขาร) เพื่อละอัสสาททิฏฐิ
2. ภิกษุควรเจริญอนัตตสัญญา (ความกำหนดหมายรู้ความเป็นอนัตตา
แห่งธรรมทั้งปวง) เพื่อละอัตตานุทิฏฐิ
3. ภิกษุควรเจริญสัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ)เพื่อละมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม 3 ประการนี้ เพื่อละธรรม 3 ประการนี้แล
อัสสาทสูตรที่ 6 จบ

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงสัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง (คือเห็นว่า อัตตา(ชีวาตมัน)และโลก เป็นสิ่งเที่ยงแท้ ยั่งยืน คงอยู่
ตลอดไป เช่นเห็นว่า คน และสัตว์ตายไปแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนดวงชีพหรือมนัส เป็น
ธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นต่อไป จัดเป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างหนึ่ง) (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/112/157)
2 หมายถึงสักกายทิฏฐิที่มีวัตถุ 20 ประการ (1) เห็นรูปเป็นอัตตา (2) เห็นอัตตามีรูป (3) เห็นรูปในอัตตา
(4) เห็นรูปในรูป (5) เห็นเวทนาเป็นอัตตา (6) เห็นอัตตามีเวทนา (7) เห็นเวทนาในอัตตา (8) เห็นอัตตา
ในเวทนา (9) เห็นสัญญาเป็นอัตตา (10) เห็นอัตตามีสัญญา (11) เห็นสัญญาในอัตตา (12) เห็นอัตตา
ในสัญญา (13) เห็นสังขารเป็นอัตตา (14) เห็นอัตตามีสังขาร (15) เห็นสังขารในอัตตา (16) เห็นอัตตา
ในสังขาร (17) เห็นวิญญาณเป็นอัตตา (18)เห็นอัตตามีวิญญาณ (19) เห็นวิญญาณในอัตตา (20) เห็น
อัตตาในวิญญาณ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/112/157) และดู สํ.ข.17/155/149, ขุ.ม.อ.12/158
3 หมายถึงทิฏฐิ 62 ประการ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/112/157) และดู ที.สี. (แปล) 9/28-146/11-46

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :633 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต 11. ติกวรรค 7. อรติสูตร
7. อรติสูตร
ว่าด้วยอรติ
[113] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อรติ (ความไม่ยินดี)
2. วิหิงสา (ความเบียดเบียน)
3. อธัมมจริยา1 (การประพฤติอธรรม)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม 3 ประการ เพื่อละธรรม 3 ประการนี้
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุควรเจริญมุทิตา(ความยินดี)เพื่อละอรติ
2. ภิกษุควรเจริญอวิหิงสา(ความไม่เบียดเบียน)เพื่อละวิหิงสา
3. ภิกษุควรเจริญธัมมจริยา(ความประพฤติธรรม)เพื่อละอธัมมจริยา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม 3 ประการนี้ เพื่อละธรรม 3 ประการนี้แล
อรติสูตรที่ 7 จบ

เชิงอรรถ :
1 อธัมมจริยา ในทีนี้หมายถึงการประพฤติอกุศลกรรมบถ 10 ประการ คือ (1) ปาณาติบาต (ฆ่าสัตว์)
(2) อทินนาทาน (ลักทรัพย์) (3) กาเมสุมิจฉาจาร (ประพฤติผิดในกาม) (4) มุสาวาท (พูดเท็จ)
(5) ปิสุณวาจา (พูดส่อเสียด) (6) ผรุสวาจา (พูดคำหยาบ) (7) สัมผัปปลาปะ (พูดเพ้อเจ้อ) (8) อภิชฌา
(เพ่งเล็งอยากได้ของเขา) (9) พยาบาท (คิดร้าย) (10) มิจฉาทิฏฐิ (เห็นผิด) (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/113/157)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :634 }