เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. สุมนวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
บุตร ภรรยา พวกพ้อง อำมาตย์1 หมู่ญาติ
และชนผู้อาศัยเขาเลี้ยงชีพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
อาศัยกุลบุตรผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมงอกงามในโลกนี้
ชนผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง เห็นศีล
จาคะ และสุจริต (ความประพฤติดี)
ของกุลบุตรผู้มีศรัทธานั้นแล้วย่อมทำตาม
บุคคลประพฤติธรรมซึ่งเป็นทางนำสัตว์ไปสู่สุคติ
ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้สมปรารถนา
ย่อมบันเทิงในเทวโลก2
มหาสาลปุตตสูตรที่ 10 จบ
สุมนวรรคที่ 4 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. สุมนสูตร 2. จุนทีสูตร
3. อุคคหสูตร 4. สีหเสนาปติสูตร
5. ทานานิสังสสูตร 6. กาลทานสูตร
7. โภชนทานสูตร 8. สัทธสูตร
9. ปุตตสูตร 10. มหาสาลปุตตสูตร


เชิงอรรถ :
1 อำมาตย์ ในที่นี้หมายถึงบุคคลที่ทำกิจการงานร่วมกัน ชี้แนะกันได้ ปรึกษาหารือกันได้ทุกเรื่อง ทุกอิริยาบถ
(สํ.สฬา.อ. 3/1012/367, สํ.ฏีกา 2/1012/629)
2 ดู องฺ.ติก. (แปล) 20/49/210

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :63 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. มุณฑราชวรรค 1. อาทิยสูตร
5. มุณฑราชวรรค
หมวดว่าด้วยพระเจ้ามุณฑราช

1. อาทิยสูตร
ว่าด้วยประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์
[41] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกเศรษฐีเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาค
จึงได้ตรัสดังนี้ว่า คหบดี ประโยชน์ที่จะพึงถือเอาจากโภคทรัพย์ 5 ประการนี้
ประโยชน์ 5 ประการนี้ อะไรบ้าง คือ
1. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ย่อมบำรุงตนเอง บำรุงมารดาบิดา บำรุง
บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร และคนใช้ให้เป็นสุข บริหารให้เป็นสุข
โดยชอบด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร เก็บ
รวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วยธรรม
ได้มาโดยธรรม1 นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ประการ
ที่ 1
2. อริยสาวกย่อมบำรุงตนเองบำรุงมิตรและอำมาตย์ให้เป็นสุข บริหาร
ให้เป็นสุขโดยชอบด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
เก็บรวบรวมด้วยน้ำพักน้ำแรง อาบเหงื่อต่างน้ำ ประกอบด้วย
ธรรม ได้มาโดยธรรม นี้เป็นประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์
ประการที่ 2

เชิงอรรถ :
1 ได้มาโดยธรรม ในที่นี้หมายถึงได้มาโดยไม่ล่วงละเมิดกุศลกรรมบถ 10 ประการ (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/41/24)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :64 }