เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 10. อานิสังสวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
3. อติมานะ (ความถือตัวว่าดีกว่าเขา)
นี้คือมานะ 3 ประการที่ภิกษุควรละ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุละตัณหา 3 ประการนี้ได้ และละมานะ 3 ประการ
นี้ได้ เราจึงเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
แล้วเพราะละมานะได้โดยชอบ’
ตัณหาสูตรที่ 11 จบ
อานิสังสวรรคที่ 10 จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปาตุภาวสูตร 2. อานิสังสสูตร
3. อนิจจสูตร 4. ทุกขสูตร
5. อนัตตสูตร 6. นิพพานสูตร
7. อนวัฏฐิตสูตร 8. อุกขิตตาสิกสูตร
9. อตัมมยสูตร 10. ภวสูตร
11. ตัณหาสูตร

ทุติยปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :628 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต 11. ติกวรรค 1. ราคสูตร
11. ติกวรรค
หมวดว่าด้วยธรรมหมวดละ 3
1. ราคสูตร
ว่าด้วยราคะ
[107] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ราคะ (ความกำหนัด)
2. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย)
3. โมหะ (ความหลง)
ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม 3 ประการ เพื่อละธรรม 3 ประการนี้
ธรรม 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุควรเจริญอสุภะ1เพื่อละราคะ
2. ภิกษุควรเจริญเมตตา2เพื่อละโทสะ
3. ภิกษุควรเจริญปัญญา3เพื่อละโมหะ
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรเจริญธรรม 3 ประการนี้ เพื่อละธรรม 3 ประการนี้แล
ราคสูตรที่ 1 จบ

เชิงอรรถ :
1 อสุภะ หมายถึงอสุภกัมมัฏฐาน คืออารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจที่พิจารณาร่างกายของตนและผู้อื่น
ให้เห็นสภาวะที่ไม่งาม มี 10 ประการ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/107/157) และดูรายละเอียดประกอบใน วิสุทฺธิ.
1/102-122/194-214
2 เมตตา หมายถึงเมตตากัมมัฏฐาน อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจที่ปรารถนาให้เขามีความสุข (องฺ.ฉกฺก.
อ. 3/107/157)
3 ปัญญา หมายถึงมัคคปัญญาพร้อมทั้งวิปัสสนา (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/107/157)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :629 }