เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 10. อานิสังสวรรค 11. ตัณหาสูตร
3. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง)
นี้คือสิกขา 3 ประการที่ภิกษุควรศึกษา
ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุละภพ 3 ประการนี้ได้ และศึกษาสิกขา 3 ประการ
นี้ได้ เราจึงเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
แล้วเพราะละมานะได้โดยชอบ1’
ภวสูตรที่ 10 จบ
11. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหาและมานะ
[106] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรละตัณหา 3 ประการ และควรละมานะ 3
ประการ
ตัณหา2 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกามธาตุ)
2. รูปตัณหา (ความทะยานอยากในรูปธาตุ)
3. อรูปตัณหา (ความทะยานอยากในอรูปธาตุ)
นี้คือตัณหา 3 ประการที่ภิกษุควรละ
มานะ3 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. มานะ (ความถือตัวว่าเสมอเขา)
2. โอมานะ (ความถือตัวว่าด้อยกว่าเขา)

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงตัดตัณหาได้เด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรค ถอนสังโยชน์ 10 ประการได้ ทำให้วัฏฏทุกข์หยุดการ
หมุนได้ (องฺ.จตุกฺก.อ. 2/177/398) และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/177/258,257/387 ประกอบ
2 ดู อภิ.วิ. (แปล) 35/917/573
3 ดู อภิ.วิ. (แปล) 35/878-881/557-558

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :627 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 10. อานิสังสวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
3. อติมานะ (ความถือตัวว่าดีกว่าเขา)
นี้คือมานะ 3 ประการที่ภิกษุควรละ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุละตัณหา 3 ประการนี้ได้ และละมานะ 3 ประการ
นี้ได้ เราจึงเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
แล้วเพราะละมานะได้โดยชอบ’
ตัณหาสูตรที่ 11 จบ
อานิสังสวรรคที่ 10 จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปาตุภาวสูตร 2. อานิสังสสูตร
3. อนิจจสูตร 4. ทุกขสูตร
5. อนัตตสูตร 6. นิพพานสูตร
7. อนวัฏฐิตสูตร 8. อุกขิตตาสิกสูตร
9. อตัมมยสูตร 10. ภวสูตร
11. ตัณหาสูตร

ทุติยปัณณาสก์ จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :628 }