เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 10. อานิสังสวรรค 11. ตัณหาสูตร
3. อธิปัญญาสิกขา (สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง)
นี้คือสิกขา 3 ประการที่ภิกษุควรศึกษา
ภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุละภพ 3 ประการนี้ได้ และศึกษาสิกขา 3 ประการ
นี้ได้ เราจึงเรียกภิกษุนี้ว่า ‘ตัดตัณหาได้แล้ว ถอนสังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
แล้วเพราะละมานะได้โดยชอบ1’
ภวสูตรที่ 10 จบ
11. ตัณหาสูตร
ว่าด้วยตัณหาและมานะ
[106] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรละตัณหา 3 ประการ และควรละมานะ 3
ประการ
ตัณหา2 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกามธาตุ)
2. รูปตัณหา (ความทะยานอยากในรูปธาตุ)
3. อรูปตัณหา (ความทะยานอยากในอรูปธาตุ)
นี้คือตัณหา 3 ประการที่ภิกษุควรละ
มานะ3 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. มานะ (ความถือตัวว่าเสมอเขา)
2. โอมานะ (ความถือตัวว่าด้อยกว่าเขา)

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงตัดตัณหาได้เด็ดขาดด้วยโลกุตตรมรรค ถอนสังโยชน์ 10 ประการได้ ทำให้วัฏฏทุกข์หยุดการ
หมุนได้ (องฺ.จตุกฺก.อ. 2/177/398) และดู องฺ.จตุกฺก. (แปล) 21/177/258,257/387 ประกอบ
2 ดู อภิ.วิ. (แปล) 35/917/573
3 ดู อภิ.วิ. (แปล) 35/878-881/557-558

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :627 }