เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 10. อานิสังสวรรค 9. อตัมมยสูตร
2. ใจของเราจักออกไปจากโลกทั้งปวง
3. เราจักมีปกติเห็นสันติในนิพพาน
4. อนุสัยของเราจักถึงการเพิกถอน
5. เราจักทำตามหน้าที่
6. เราจักมีเมตตาบำรุงพระศาสดา1
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ 6 ประการนี้แล สามารถทำเขต
ไม่จำกัดในสังขารทั้งปวงแล้วทำทุกขสัญญาให้ปรากฏได้
อุกขิตตาสิกสูตรที่ 8 จบ
9. อตัมมยสูตร
ว่าด้วยอตัมมยะ2
[104] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ 6 ประการ สามารถ
ทำเขตไม่จำกัดในธรรมทั้งปวงแล้วทำอนัตตสัญญาให้ปรากฏได้
อานิสงส์ 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุพิจารณาเห็นว่า
1. เราจักเป็นอตัมมยะ
2. อหังการ3ของเราจักดับไป

เชิงอรรถ :
1 พระเสขบุคคล 7 จำพวก ย่อมบำรุงรับใช้พระตถาคตด้วยเมตตา ส่วนพระขีณาสพได้ผ่านการบำรุงรับใช้
พระศาสดาแล้ว (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/103/156)
2 อตัมมยะ (ไม่มีตัมมยะ) ในที่นี้หมายถึงไม่มีตัณหาและทิฏฐิ คำว่า ตัมมยะ เป็นชื่อเรียกตัณหาและทิฏฐิ
(องฺ.ฉกฺก.อ. 3/104/156)
3 อหังการ หมายถึงทิฏฐิที่มีความยึดถือว่าเป็นเรา (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/104/156)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :625 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 10. อานิสังสวรรค 10. ภวสูตร
3. มมังการ1ของเราจักดับไป
4. เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยอสาธารณญาณ2
5. เราจักเป็นผู้เห็นเหตุได้ดี
6. เราจักเป็นผู้เห็นธรรมที่เกิดขึ้นจากเหตุได้ดี
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ 6 ประการนี้แล สามารถทำเขต
ไม่จำกัดในธรรมทั้งปวงแล้วทำอนัตตสัญญาให้ปรากฏได้
อตัมมยสูตรที่ 9 จบ
10 ภวสูตร
ว่าด้วยภพและสิกขา
[105] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุควรละภพ 3 ประการนี้ ควรศึกษาในสิกขา
3 ประการ
ภพ 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. กามภพ (ภพที่เป็นกามาวจร)
2. รูปภพ (ภพที่เป็นรูปาวจร)
3. อรูปภพ (ภพที่เป็นอรูปาวจร)
นี้คือภพ 3 ประการที่ภิกษุควรละ
สิกขา 3 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อธิสีลสิกขา (สิกขาคือศีลอันยิ่ง)
2. อธิจิตตสิกขา (สิกขาคือจิตอันยิ่ง)

เชิงอรรถ :
1 มมังการ หมายถึงตัณหา คือความทะยานอยากว่าเป็นของเรา (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/104/156)
2 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 97 (อานิสังสสูตร) หน้า 621 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :626 }