เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 9. สีติวรรค 8. ปฐมอภัพพัฏฐานสูตร
7. อภัพพสูตร
ว่าด้วยผู้ไม่อาจให้ธรรมเกิดขึ้น
[91] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ไม่อาจให้ธรรม 6
ประการเกิดขึ้นได้
ธรรม 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. สักกายทิฏฐิ
2. วิจิกิจฉา
3. สีลัพพตปรามาส
4. ราคะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
5. โทสะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
6. โมหะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ เป็นผู้ไม่อาจให้ธรรม 6 ประการนี้
แลเกิดขึ้นได้
อภัพพสูตรที่ 7 จบ
8. ปฐมอภัพพัฏฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ สูตรที่ 1
[92] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ 6 ประการนี้
ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
1. เป็นผู้ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในศาสดา
2. เป็นผู้ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในธรรม
3. เป็นผู้ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสงฆ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :616 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 9. สีติวรรค 9. ทุติยอภัพพัฏฐานสูตร
4. เป็นผู้ไม่อาจอยู่อย่างไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขา
5. เป็นผู้ไม่อาจกลับมาสู่เหตุที่ไม่ควรเข้าถึง1
6. เป็นผู้ไม่อาจให้ภพที่ 82 เกิดขึ้นได้
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ 6 ประการนี้แล
ปฐมอภัพพัฏฐานสูตรที่ 8 จบ
9. ทุติยอภัพพัฏฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ สูตรที่ 2
[93] ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ 6 ประการนี้
ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ
1. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสังขารว่าเป็นของเที่ยง
2. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือสังขารว่าเป็นสุข
3. เป็นผู้ไม่อาจยึดถือธรรมว่าเป็นอัตตา
4. เป็นผู้ไม่อาจทำอนันตริยกรรม3
5. เป็นผู้ไม่อาจเชื่อความบริสุทธิ์โดยถือมงคลตื่นข่าว4
6. เป็นผู้ไม่อาจแสวงหาเขตบุญนอกศาสนานี้
ภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ไม่อาจเป็นได้ 6 ประการนี้แล
ทุติยอภัพพัฏฐานสูตรที่ 9 จบ

เชิงอรรถ :
1 เหตุที่ไม่ควรเข้าถึง ในที่นี้หมายถึงเวร 5 ได้แก่ (ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ เสพของ
มึนเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นเหตุแห่งความประมาท) และทิฏฐิ 62 ประการ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/92-95/
155) ดู ที.สี. (แปล) 9/28-146/11-46 ประกอบ
2 ภพที่ 8 หมายถึงปฏิสนธิที่ 8 ในชั้นกามาวจร (ผู้ได้โสดาบันจะถือปฏิสนธิไม่เกิน 7 ครั้ง) (องฺ.ฉกฺก.อ.
3/92-95/155)
3 ดู อภิ.วิ. (แปล) 35/941/595, องฺ.ฉกฺก.อ. 3/86/155
4 ถือมงคลตื่นข่าว หมายถึงถือว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นมงคล (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/92-95/155)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :617 }