เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 8. อรหัตตวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
3. เป็นผู้มีศีล
4. เป็นผู้ปรารภความเพียร
5. เป็นผู้มีสติ
6. เป็นผู้มีปัญญา
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้แล เมื่อกลางวันหรือ
กลางคืนผ่านไป พึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียวในกุศลธรรมทั้งหลาย ไม่มีความ
เสื่อมเลย
รัตติทิวสสูตรที่ 10 จบ
อรหัตตวรรคที่ 8 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ทุกขสูตร 2. อรหัตตสูตร
3. อุตตริมนุสสธัมมสูตร 4. สุขโสมนัสสสูตร
5. อธิคมสูตร 6. มหัตตสูตร
7. ปฐมนิรยสูตร 8. ทุติยนิรยสูตร
9. อัคคธัมมสูตร 10. รัตติทิวสสูตร


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :608 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 9. สีติวรรค 1. สีติภาวสูตร
9. สีติวรรค
หมวดว่าด้วยสีติภาวะ1
1. สีติภาวสูตร
ว่าด้วยสีติภาวะ
[85] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6
ประการ เป็นผู้ไม่อาจทำให้แจ้งสีติภาวะ(สภาวะที่เย็น)อันยอดเยี่ยม
ธรรม 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. ไม่ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม2
2. ไม่ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง3
3. ไม่ทำจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง4
4. ไม่วางจิตในสมัยที่ควรวาง5
5. น้อมไปในธรรมที่เลว
6. ยินดียิ่งในสักกายทิฏฐิ6

เชิงอรรถ :
1 สีติภาวะ ในที่นี้หมายถึงนิพพาน หรือธรรมเครื่องระงับกิเลส (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/85/179)
2 สมัยที่ควรข่ม หมายถึงขณะที่จิตมีฟุ้งซ่านเพราะบำเพ็ญเพียรมากเกินไป เป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/85/154)
3 สมัยที่ควรประคอง หมายถึงขณะที่จิตตกอยู่ในความเกียจคร้าน เพราะมีความเพียรย่อหย่อน เป็นต้น
(องฺ.ฉกฺก.อ. 3/85/154)
4 สมัยที่ควรให้ร่าเริง หมายถึงขณะที่จิตดำเนินสม่ำเสมอ ขณะที่จิตปราศจากความยินดีไม่ดำเนินไปในภาวนา
เพราะมีความพยายามด้วยปัญญาน้อย หรือขณะที่จิตไม่บรรลุสุขคือความสงบ
อนึ่ง เมื่อทำจิตให้ร่าเริง ภิกษุต้องพิจารณาสังเวควัตถุมีชาติเป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/85/179)
5 สมัยที่ควรวาง หมายถึงขณะที่จิตดำเนินดี คือหยั่งลงสู่ภาวนาวิธีที่ถูกต้อง (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/85/155)
6 ดูรายละเอียดในเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 112 หน้า 633 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :609 }