เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 8. อรหัตตวรรค 7. ปฐมนิรยสูตร
4. เป็นผู้มากด้วยความไม่สันโดษ1
5. เป็นผู้ไม่ทอดธุระ
6. ทำความเพียรให้ยิ่งขึ้นในกุศลธรรมทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้แล ไม่นานนัก ย่อมบรรลุ
ความเป็นใหญ่ ความไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย
มหัตตสูตรที่ 6 จบ
7. ปฐมนิรยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดในนรก สูตรที่ 1
[81] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 6 ประการ ย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เป็นผู้ฆ่าสัตว์ 2. เป็นผู้ลักทรัพย์
3. เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม 4. เป็นผู้พูดเท็จ
5. เป็นผู้มีความปรารถนาชั่ว 6. เป็นมิจฉาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 6 ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์
2. เป็นผู้เว้นขาดจากการลักทรัพย์
3. เป็นผู้เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม

เชิงอรรถ :
1 ไม่สันโดษ ในที่นี้หมายถึงไม่สันโดษพอใจหยุดอยู่เพียงแค่ในกุศลธรรมทั้งหลายที่มีอยู่แล้ว แต่ยังทำ
ความเพียรยิ่งขึ้นในกุศลธรรมทั้งหลาย (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/80/154)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :604 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 8. อรหัตตวรรค 8. ทุติยนิรยสูตร
4. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
5. เป็นผู้ไม่มีความปรารถนาชั่ว
6. เป็นสัมมาทิฏฐิ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ใน
สวรรค์ เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ปฐมนิรยสูตรที่ 7 จบ
8. ทุติยนิรยสูตร
ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดในนรก สูตรที่ 2
[82] ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 6 ประการ ย่อมดำรงอยู่
ในนรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้
ธรรม 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เป็นผู้พูดเท็จ 2. เป็นผู้พูดส่อเสียด
3. เป็นผู้พูดคำหยาบ 4. เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ
5. เป็นผู้มักโลภ 6. เป็นผู้มีความคะนอง
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 6 ประการนี้แล ย่อมดำรงอยู่ในนรก
เหมือนถูกนำไปฝังไว้
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม 6 ประการ ย่อมดำรงอยู่ในสวรรค์
เหมือนได้รับอัญเชิญไปประดิษฐานไว้
ธรรม 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเท็จ
2. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด
3. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ
4. เป็นผู้เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :605 }