เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 8. อรหัตตวรรค 3. อุตตริมนุสสธัมมสูตร
3. อุตตริมนุสสธัมมสูตร
ว่าด้วยญาณทัสสนะที่ยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์
[77] ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม 6 ประการไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้ง
ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ1 อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์2ได้
ธรรม 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความหลงลืมสติ
2. ความไม่มีสัมปชัญญะ
3. ความไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย
4. ความไม่รู้จักประมาณในการบริโภค
5. การหลอกลวง3
6. การพูดป้อยอ4
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยังละธรรม 6 ประการนี้แลไม่ได้ ก็ไม่อาจทำให้แจ้งญาณ-
ทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม 6 ประการได้แล้ว จึงอาจทำให้แจ้งญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ อันวิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ได้
ธรรม 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ความหลงลืมสติ
2. ความไม่มีสัมปชัญญะ

เชิงอรรถ :
1 ญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ หมายถึงมหัคคตโลกุตตรปัญญา (ปัญญาชั้นโลกุตตระที่ถึงความ
เป็นใหญ่) อันประเสริฐ บริสุทธิ์ สูงสุด สามารถกำจัดกิเลสได้ (องฺ.ทสก.อ. 3/48/350) อีกนัยหนึ่ง
หมายถึงญาณทัสสนะที่วิเศษสามารถที่จะทำความเป็นอริยะ ได้แก่ มรรค 4 ผล 4 (อริยภาวํ กาตุํ สมตฺถํ
�าณทสฺสนวิเสสํ, จตฺตาโร มคฺเค จตฺตาริ ผลานิ) (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/77/153)
2 ธรรมของมุนษย์ ในที่นี้หมายถึงกุศลกรรมบถ 10 ประการ (องฺ.เอกก.อ. 1/45/51)
3 ดูเชิงอรรถที่ 1 ปัญจกนิบาต ข้อ 83 (กุหกสูตร) หน้า 151 ในเล่มนี้
4 การพูดป้อยอ ในที่นี้หมายถึงการพูดป้อยอมุ่งหวังลาภสักการะและชื่อเสียง (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/77/153)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :600 }