เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 7. เทวตาวรรค 6. สมาธิสูตร
6. ตนเองเป็นผู้มีกัลยาณมิตร สรรเสริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีกัลยาณมิตรให้เป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ทั้งประกาศคุณที่มีจริงของภิกษุเหล่าอื่นผู้มีกัลยาณมิตร ตามกาล
อันควร
สารีบุตร บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร
อย่างนี้แล”
เทวตาสูตรที่ 5 จบ
6. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ
[70] ภิกษุทั้งหลาย
1. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นมีสมาธิที่ไม่สงบ1 มีสมาธิที่ไม่ประณีต
มีสมาธิที่ไม่ได้ด้วยความสงบระงับ มีสมาธิที่ไม่มีภาวะเป็นหนึ่ง
ผุดขึ้น2 จักแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลาย
คนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ3 ใช้อำนาจทางกายไป
จนถึงพรหมโลกได้
2. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจักได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ เสียงทิพย์
และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือ
มนุษย์ได้
3. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจักกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วย
จิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ หรือจิตไม่หลุดพ้น
ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้นได้

เชิงอรรถ :
1 สมาธิที่ไม่สงบ หมายถึงสมาธิที่ไม่สงบจากกิเลสที่เป็นข้าศึกทั้งหลาย (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/70/152)
2 สมาธิที่ไม่มีภาวะเป็นหนึ่งผุดขึ้น หมายถึงสมาธิที่ไม่ชื่อว่า เอโกทิ อันเป็นสมาธิระดับทุติยฌานซึ่ง
ปราศจากวิตก วิจาร มีแต่ปีติและสุขเกิดจากสมาธิ (เทียบ วิ.อ. 1/11/143-144)
3 ฯลฯ ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มใน ปัญจกนิบาต ข้อ 28 หน้า 39-40 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :591 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 7. เทวตาวรรค 6. สักขิภัพพสูตร
4. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจักระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติ
บ้าง 2 ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะ
ทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ได้
5. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจักเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ฯลฯ
ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมได้
6. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอัน
ไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบันได้
ภิกษุทั้งหลาย
1. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นมีสมาธิที่สงบ มีสมาธิที่ประณีต มีสมาธิที่ได้ด้วย
ความสงบระงับ มีสมาธิที่มีภาวะที่เป็นหนึ่งผุดขึ้น จักแสดงฤทธิ์ได้
หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดง
เป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกได้
2. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจักได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียง
มนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ได้
3. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจักกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วยจิต
ของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้
ว่าจิตไม่หลุดพ้นได้
4. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจักระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง
2 ชาติบ้าง ฯลฯ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไป
และชีวประวัติอย่างนี้ได้
5. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจักเห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำ
และชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมได้
6. เป็นไปได้ที่ภิกษุนั้นจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญายิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบันได้
สมาธิสูตรที่ 6 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :592 }