เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 7. เทวตาวรรค 5. เทวตาสูตร
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา สรรเสริญความเป็นผู้มี
ความเคารพในพระศาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีความเคารพ
ในศาสดาให้มีความเคารพในพระศาสดา ทั้งประกาศคุณที่มีอยู่จริง
ของภิกษุเหล่าอื่นผู้มีความเคารพในศาสดาตามกาลอันควร
2. ตนเองเป็นผู้มีความมีเคารพในพระธรรม ฯลฯ
3. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในพระสงฆ์ ฯลฯ
4. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ฯลฯ
5. ตนเองเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ
6. ตนเองเป็นผู้มีกัลยาณมิตร สรรเสริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีกัลยาณมิตรให้เป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ทั้งประกาศคุณที่มีอยู่จริงของภิกษุเหล่าอื่นผู้มีกัลยาณมิตรตามกาล
อันควร
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทราบชัดเนื้อความแห่งพระดำรัสที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้โดยย่อ ได้โดยพิสดารอย่างนี้แล”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “สารีบุตร ดีละ ดีละ เป็นการดีที่เธอรู้เนื้อความแห่ง
คำที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดารอย่างนี้
สารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในศาสดา สรรเสริญความเป็นผู้มีความ
เคารพในศาสดา ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีความเคารพในพระ
ศาสดาให้มีความเคารพในศาสดา ทั้งประกาศคุณที่มีจริงของภิกษุ
เหล่าอื่นผู้มีความเคารพในพระศาสดาตามกาลอันควร
2. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในธรรม ฯลฯ
3. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสงฆ์ ฯลฯ
4. ตนเองเป็นผู้มีความเคารพในสิกขา ฯลฯ
5. ตนเองเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :590 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 7. เทวตาวรรค 6. สมาธิสูตร
6. ตนเองเป็นผู้มีกัลยาณมิตร สรรเสริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ชักชวนภิกษุเหล่าอื่นผู้ไม่มีกัลยาณมิตรให้เป็นผู้มีกัลยาณมิตร
ทั้งประกาศคุณที่มีจริงของภิกษุเหล่าอื่นผู้มีกัลยาณมิตร ตามกาล
อันควร
สารีบุตร บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้โดยย่อนี้ได้โดยพิสดาร
อย่างนี้แล”
เทวตาสูตรที่ 5 จบ
6. สมาธิสูตร
ว่าด้วยสมาธิ
[70] ภิกษุทั้งหลาย
1. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นมีสมาธิที่ไม่สงบ1 มีสมาธิที่ไม่ประณีต
มีสมาธิที่ไม่ได้ด้วยความสงบระงับ มีสมาธิที่ไม่มีภาวะเป็นหนึ่ง
ผุดขึ้น2 จักแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลาย
คนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ3 ใช้อำนาจทางกายไป
จนถึงพรหมโลกได้
2. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจักได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ เสียงทิพย์
และเสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือ
มนุษย์ได้
3. เป็นไปไม่ได้เลยที่ภิกษุนั้นจักกำหนดรู้จิตของสัตว์และบุคคลอื่นได้ด้วย
จิตของตน คือ จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ ฯลฯ หรือจิตไม่หลุดพ้น
ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้นได้

เชิงอรรถ :
1 สมาธิที่ไม่สงบ หมายถึงสมาธิที่ไม่สงบจากกิเลสที่เป็นข้าศึกทั้งหลาย (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/70/152)
2 สมาธิที่ไม่มีภาวะเป็นหนึ่งผุดขึ้น หมายถึงสมาธิที่ไม่ชื่อว่า เอโกทิ อันเป็นสมาธิระดับทุติยฌานซึ่ง
ปราศจากวิตก วิจาร มีแต่ปีติและสุขเกิดจากสมาธิ (เทียบ วิ.อ. 1/11/143-144)
3 ฯลฯ ที่ปรากฏในสูตรนี้ ดูความเต็มใน ปัญจกนิบาต ข้อ 28 หน้า 39-40 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :591 }