เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. สุมนวรรค 8. สัทธสูตร
นักปราชญ์ผู้มีปัญญา ให้อายุ ย่อมได้อายุ
ให้พละ ย่อมได้พละ ให้วรรณะ ย่อมได้วรรณะ
ให้ปฏิภาณ ย่อมได้ปฏิภาณ ให้สุข ย่อมได้สุข
ครั้นให้อายุ พละ วรรณะ สุขะ และปฏิภาณแล้ว
จะเกิดในที่ใด ๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศในที่นั้น ๆ
โภชนสูตรที่ 7 จบ

8. สัทธสูตร
ว่าด้วยอานิสงส์แห่งศรัทธา
[38] ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมได้อานิสงส์ 5 ประการ
อานิสงส์ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
สัตบุรุษทั้งหลายผู้สงบในโลก
1. เมื่อจะอนุเคราะห์ ย่อมอนุเคราะห์ผู้มีศรัทธาก่อน ไม่อนุเคราะห์
ผู้ไม่มีศรัทธาก่อน
2. เมื่อจะเข้าไปหา ย่อมเข้าไปหาผู้มีศรัทธาก่อน ไม่เข้าไปหาผู้ไม่มีศรัทธา
ก่อน
3. เมื่อจะต้อนรับ ย่อมต้อนรับผู้มีศรัทธาก่อน ไม่ต้อนรับผู้ไม่มี
ศรัทธาก่อน
4. เมื่อจะแสดงธรรม ย่อมแสดงธรรมแก่ผู้มีศรัทธาก่อน ไม่แสดง
ธรรมแก่ผู้ไม่มีศรัทธาก่อน
5. กุลบุตรผู้มีศรัทธา หลังจากตายแล้วย่อมเกิดในสุคติโลกสวรรค์
ภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรผู้มีศรัทธา ย่อมได้อานิสงส์ 5 ประการนี้แล
เปรียบเหมือนต้นไทรใหญ่ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง มีพื้นราบเรียบ ย่อมเป็นที่พึ่งของ
หมู่นกโดยรอบ ฉันใด กุลบุตรผู้มีศรัทธาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นที่พึ่งของคน
หมู่มาก คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :59 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. สุมนวรรค 9. ปุตตสูตร
ต้นไม้ใหญ่ มีกิ่ง ใบ และผล
มีลำต้นแข็งแรง มีรากมั่นคง สมบูรณ์ด้วยผล
ย่อมเป็นที่พึ่งของนกทั้งหลาย
ฝูงนกย่อมอาศัยต้นไม้นั้นซึ่งเป็นที่รื่นรมย์ใจ ให้เกิดสุข
ผู้ต้องการความร่มเย็น ย่อมเข้าไปอาศัยร่มเงา
ผู้ต้องการผล ย่อมบริโภคผลได้ ฉันใด
ท่านผู้ปราศจากราคะ ปราศจากโทสะ
ปราศจากโมหะ ไม่มีอาสวะ เป็นนาบุญของโลก
ย่อมคบหาบุคคลผู้มีศรัทธาซึ่งสมบูรณ์ด้วยศีล
ประพฤติถ่อมตน ไม่กระด้าง1 สุภาพ
น่าชื่นชม อ่อนโยน มั่นคง ฉันนั้น
ท่านเหล่านั้นย่อมแสดงธรรม
เป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา
เขารู้ชัดธรรมนั้นแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพานในโลกนี้
สัทธสูตรที่ 8 จบ

9. ปุตตสูตร
ว่าด้วยบุตร
[39] ภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดา เมื่อเห็นฐานะ 5 ประการนี้ จึงปรารถนา
บุตรผู้เกิดในตระกูล
ฐานะ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. บุตรที่เราเลี้ยงมาแล้วจักเลี้ยงเรา
2. บุตรจักช่วยทำกิจของเรา

เชิงอรรถ :
1 ไม่กระด้าง หมายถึงปราศจากความกระด้าง คือ โกธะ (ความโกรธ) และมานะ (ความถือตัว) (องฺ.ปญฺจก.อ.
3/38/23)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :60 }