เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 10. สีหนาทสูตร
กำลังของตถาคต 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะในโลกนี้
ตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะ
โดยเป็นอฐานะตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคต
อาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักร
ในบริษัท
2. ตถาคตรู้ชัดวิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และ
ปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัด
วิบากแห่งการยึดถือกรรมที่เป็นทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันโดย
ฐานะโดยเหตุตามความเป็นจริง นี้เป็นกำลังของตถาคตที่ตถาคต
อาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักร
ในบริษัท
3. ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง1 ความผ่องแผ้ว2 แห่งฌาน วิโมกข์
สมาธิ และสมาบัติ3 และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และ
สมาบัติตามความเป็นจริง การที่ตถาคตรู้ชัดความเศร้าหมอง
ความผ่องแผ้วแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ และการ
ออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติตามความเป็นจริง นี้เป็น

เชิงอรรถ :
1 ความเศร้าหมอง ในที่นี้หมายถึงธรรมฝ่ายเสื่อมได้แก่กาม วิตก วิจาร และปีติ เป็นต้น ที่เป็นอุปสรรค
ต่อการเจริญฌานตามลำดับขั้นของผู้ที่มีฌานยังไม่คล่องแคล่ว (องฺ.ทสก.อ. 3/21/329, องฺ.ทสก.ฏีกา
3/21/392) และดู องฺ.นวก. 23/41/362-369
2 ความผ่องแผ้ว ในที่นี้หมายถึงธรรมฝ่ายเจริญ ได้แก่ การสงัดจากกาม การระงับวิตกวิจาร การจางคลาย
ไปแห่งปีติ เป็นต้น ซึ่งเป็นคุณต่อการเจริญฌานให้ยิ่งขึ้นไปของผู้ที่มีฌานคล่องแคล่ว (องฺ.ทสก.อ. 3/21/
329, องฺ.ทสก.ฏีกา 3/21/392) และดู องฺ.นวก. 23/41/362-369
3 ในคำว่า “ฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ” นี้ ฌาน หมายถึงฌาน 4 (ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน
จตุตถฌาน) (องฺ.ทสก.อ. 3/21/329) วิโมกข์ หมายถึงวิโมกข์ 8 มีข้อว่า ‘ผู้มีรูป มองเห็นรูปทั้งหลาย’
เป็นต้น (องฺ.ทสก.อ. 3/21/329) และดู ที.ปา. 11/339/231, องฺ.อฏฺ_ก. 23/119/289 สมาธิ หมายถึง
สมาธิ 3 คือ สวิตักกสวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจาร) อวิตักกวิจารมัตตสมาธิ (สมาธิที่ไม่มี
วิตกมีเพียงวิจาร) อวิตักกาวิจารสมาธิ (สมาธิที่มีทั้งวิตกและวิจาร) (องฺ.ทสก.อ. 3/21/329) และดู ขุ.ป.
31/43/50 สมาบัติ หมายถึงอนุปุพพสมาบัติ 9 คือ รูปฌาน 4 อรูปฌาน 4 และสัญญาเวทยิตนิโรธ 1
(องฺ.ทสก.อ. 3/21/329) และดู องฺ.นวก. 23/32/336, อภิ.วิ. (แปล) 35/828/531

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :580 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 10. สีหนาทสูตร
กำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือ
สีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
4. ตถาคตระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง 2 ชาติบ้าง
ฯลฯ ตถาคตระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไป
และชีวประวัติ อย่างนี้ การที่ตถาคตระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ
1 ชาติบ้าง 2 ชาติบ้าง ฯลฯ ตถาคตระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ
พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้ นี้เป็นกำลังของตถาคต
ที่ตถาคต อาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท
ประกาศพรหมจักร ในบริษัท
5. ตถาคตเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังเกิด ฯลฯ ด้วยตาทิพย์อัน
บริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า ฯลฯ นี้เป็น
กำลังของตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสี
หนาทประกาศพรหมจักรในบริษัท
6. ตถาคตทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะ เพราะ
อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน การที่ตถาคต
ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ เพราะอาสวะ
สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน นี้เป็นกำลังของ
ตถาคตที่ตถาคตอาศัยแล้วปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท
ประกาศพรหมจักรในบริษัท
ภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต 6 ประการนี้แล ที่ตถาคตมีแล้วเป็นเหตุให้
ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท
ภิกษุทั้งหลาย บรรดากำลังของตถาคต 6 ประการนั้น
หากชนเหล่าอื่นเข้ามาหาตถาคตถามปัญหาถึงญาณรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ
และอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความเป็นจริง ตถาคตเมื่อถูกถามย่อมพยากรณ์ญาณ
รู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความเป็นจริงแก่ชนเหล่านั้น
ตามที่ตถาคตรู้แจ้งญาณรู้ชัดฐานะโดยเป็นฐานะและอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความ
เป็นจริง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :581 }