เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 10. สีหนาทสูตร
รู้บทเดียวหรือสองบทเพื่อดับทุกข์นี้ได้’ เรากล่าวว่าทุกข์นั้นมีความหลงเป็นผล หรือ
มีการแสวงหาเปลื้องทุกข์ภายนอกเป็นผล นี้เรียกว่า วิบากแห่งทุกข์
ความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ เพราะตัณหาดับ ทุกข์จึงดับ
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้ คือ
1. สัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ
8. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสาวกรู้ชัดทุกข์อย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งทุกข์อย่างนี้
รู้ชัดความต่างกันแห่งทุกข์อย่างนี้ รู้ชัดวิบากแห่งทุกข์อย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งทุกข์
อย่างนี้ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์อย่างนี้ เธอจึงรู้ชัดพรหมจรรย์ที่เป็น
เหตุชำแรกกิเลส เป็นที่ดับทุกข์นี้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความ
ต่างกันแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายที่เป็นเหตุชำแรกกิเลสนี้นั้น เป็นอย่างนี้แล
นิพเพธิกสูตรที่ 9 จบ
10. สีหนาทสูตร1
ว่าด้วยการบันลือสีหนาท
[64] ภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต 6 ประการนี้ ที่ตถาคตมีแล้วเป็น
เหตุให้ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท2

เชิงอรรถ :
1 ดูมหาสีหนาทสูตร (ม.มู. 12/148/107-110, องฺ.ทสก. (แปล) 24/21/43)
2 ดูเชิงอรรถที่ 2-5 ปัญจกนิบาต ข้อ 11 (อนุสสุตสูตร) หน้า 15 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :579 }