เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 9. นิพเพธิกสูตร
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรมได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้ คือ
1. สัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ
8. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสาวกรู้ชัดกรรมอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งกรรมอย่างนี้
รู้ชัดความต่างกันแห่งกรรมอย่างนี้ รู้ชัดวิบากแห่งกรรมอย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่ง
กรรมอย่างนี้ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกรรมอย่างนี้ เธอจึงรู้ชัดพรหมจรรย์
ที่เป็นเหตุชำแรกกิเลส เป็นที่ดับกรรมนี้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับแห่งกรรม’ เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความ
ต่างกันแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
แห่งทุกข์’ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า แม้ชาติ (ความเกิด) ก็เป็นทุกข์ แม้ชรา (ความแก่) ก็เป็น
ทุกข์ แม้มรณะ (ความตาย) ก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ (ความโศก) ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ)
ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส (ความทุกข์ใจ) อุปายาส (ความคับแค้นใจ) ก็เป็นทุกข์
ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์
เหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์
ความต่างกันแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ ทุกข์มากก็มี ทุกข์น้อยก็มี ทุกข์ที่คลายช้าก็มี ทุกข์ที่คลายเร็วก็มี นี้เรียกว่า
ความต่างกันแห่งทุกข์
วิบากแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ถูกทุกข์ใดครอบงำ มีจิตถูกทุกข์ใดกลุ้มรุม ย่อม
เศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุบอก คร่ำครวญ ถึงความเลอะเลือน หรือบุคคลถูกทุกข์
ใดครอบงำ มีจิตถูกทุกข์ใดกลุ้มรุมแล้วย่อมหาเหตุเปลื้องทุกข์ในภายนอกว่า ‘ใครจะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :578 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 10. สีหนาทสูตร
รู้บทเดียวหรือสองบทเพื่อดับทุกข์นี้ได้’ เรากล่าวว่าทุกข์นั้นมีความหลงเป็นผล หรือ
มีการแสวงหาเปลื้องทุกข์ภายนอกเป็นผล นี้เรียกว่า วิบากแห่งทุกข์
ความดับแห่งทุกข์ เป็นอย่างไร
คือ เพราะตัณหาดับ ทุกข์จึงดับ
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้ คือ
1. สัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ
8. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสาวกรู้ชัดทุกข์อย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งทุกข์อย่างนี้
รู้ชัดความต่างกันแห่งทุกข์อย่างนี้ รู้ชัดวิบากแห่งทุกข์อย่างนี้ รู้ชัดความดับแห่งทุกข์
อย่างนี้ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์อย่างนี้ เธอจึงรู้ชัดพรหมจรรย์ที่เป็น
เหตุชำแรกกิเลส เป็นที่ดับทุกข์นี้
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความ
ต่างกันแห่งทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งทุกข์’
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายที่เป็นเหตุชำแรกกิเลสนี้นั้น เป็นอย่างนี้แล
นิพเพธิกสูตรที่ 9 จบ
10. สีหนาทสูตร1
ว่าด้วยการบันลือสีหนาท
[64] ภิกษุทั้งหลาย กำลังของตถาคต 6 ประการนี้ ที่ตถาคตมีแล้วเป็น
เหตุให้ปฏิญญาฐานะที่องอาจ บันลือสีหนาท ประกาศพรหมจักรในบริษัท2

เชิงอรรถ :
1 ดูมหาสีหนาทสูตร (ม.มู. 12/148/107-110, องฺ.ทสก. (แปล) 24/21/43)
2 ดูเชิงอรรถที่ 2-5 ปัญจกนิบาต ข้อ 11 (อนุสสุตสูตร) หน้า 15 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :579 }