เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 9. นิพเพธิกสูตร
เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับแห่งสัญญา’
เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ ฯลฯ ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับแห่งอาสวะ’ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า อาสวะ1 3 ประการนี้ คือ
1. กามาสวะ (อาสวะคือกาม)
2. ภวาสวะ (อาสวะคือภพ)
3. อวิชชาสวะ (อาสวะคืออวิชชา)
เหตุเกิดแห่งอาสวะ เป็นอย่างไร
คือ อวิชชาเป็นเหตุเกิดแห่งอาสวะ
ความต่างกันแห่งอาสวะ เป็นอย่างไร
คือ อาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่นรกก็มี อาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่กำเนิดสัตว์
ดิรัจฉานก็มี อาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่แดนเปรตก็มี อาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่มนุษยโลก
ก็มี อาสวะที่เป็นเหตุให้ไปสู่เทวโลกก็มี นี้เรียกว่า ความต่างกันแห่งอาสวะ
วิบากแห่งอาสวะ เป็นอย่างไร
คือ การที่บุคคลมีอวิชชา ย่อมยังอัตภาพที่เกิดจากอวิชชานั้น ๆ ให้เกิดขึ้น จะ
เป็นส่วนแห่งบุญหรือไม่เป็นส่วนแห่งบุญก็ตาม นี้เรียกว่า วิบากแห่งอาสวะ
ความดับแห่งอาสวะ เป็นอย่างไร
คือ เพราะอวิชชาดับ อาสวะจึงดับ
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งอาสวะ ได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้ คือ
1. สัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ
2. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสาวกรู้ชัดอาสวะอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งอาสวะ
อย่างนี้ รู้ชัดความต่างกันแห่งอาสวะอย่างนี้ รู้ชัดวิบากแห่งอาสวะอย่างนี้ รู้ชัด

เชิงอรรถ :
1 ดู ที.ม.10/142/73, สํ.สฬา. (แปล) 18/321/340, อภิ.วิ. (แปล) 35/937/586-587

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :576 }