เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 9. นิพเพธิกสูตร
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า สัญญา1 6 ประการนี้ คือ
1. รูปสัญญา (กำหนดหมายรูป)
2. สัททสัญญา (กำหนดหมายเสียง)
3. คันธสัญญา (กำหนดหมายกลิ่น)
4. รสสัญญา (กำหนดหมายรส)
5. โผฏฐัพพสัญญา (กำหนดหมายโผฏฐัพพะ)
6. ธัมมสัญญา (กำหนดหมายธรรมารมณ์)
เหตุเกิดแห่งสัญญา เป็นอย่างไร
คือ ผัสสะเป็นเหตุเกิดแห่งสัญญา
ความต่างกันแห่งสัญญา เป็นอย่างไร
คือ สัญญาในรูปเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในเสียงเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในกลิ่น
เป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในรสเป็นอย่างหนึ่ง สัญญาในโผฏฐัพพะเป็นอย่างหนึ่ง
สัญญาในธรรมเป็นอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ความต่างกันแห่งสัญญา
วิบากแห่งสัญญา เป็นอย่างไร
คือ เรากล่าวว่าสัญญา ‘มีคำพูดเป็นผล (เพราะว่า) บุคคลกำหนดหมายอย่างใด
ก็พูดไปอย่างนั้นว่า ‘เรามีสัญญาอย่างนี้’ นี้เรียกว่า วิบากแห่งสัญญา
ความดับแห่งสัญญา เป็นอย่างไร
คือ เพราะผัสสะดับ สัญญาจึงดับ
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสัญญาได้แก่ อริยมรรคมีองค์ 8 นี้ คือ
1. สัมมาทิฏฐิ
ฯลฯ
8. สัมมาสมาธิ
ภิกษุทั้งหลาย เพราะอริยสาวกรู้ชัดสัญญาอย่างนี้ รู้ชัดเหตุเกิดแห่งสัญญา
อย่างนี้ รู้ชัดความต่างกันแห่งสัญญาอย่างนี้ รู้ชัดวิบากแห่งสัญญาอย่างนี้ รู้ชัด
ความดับแห่งสัญญาอย่างนี้ รู้ชัดข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งสัญญาอย่างนี้ เธอจึง
รู้ชัดพรหมจรรย์ที่เป็นเหตุชำแรกกิเลส เป็นที่ดับแห่งสัญญานี้

เชิงอรรถ :
1 ดู ที.ปา.11/323/215, ม.อุ.14/305/279, อภิ.วิ.(แปล) 35/154/112

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :575 }