เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 8. ปุริสินทริยญาณสูตร
6. เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลบางคนในโลกนี้แม้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรม
ก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัยต่อมา เรากำหนดใจ
ด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘อกุศลธรรมแม้เท่ารอยเจาะแห่ง
ปลายขนทรายของบุคคลนี้ก็ไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วยธรรมที่ไม่
มีโทษ เป็นธรรมฝ่ายขาวอย่างเดียว จักปริพพานในปัจจุบัน
แน่นอน’ เปรียบเหมือนถ่านไฟที่เย็น ดับแล้ว ซึ่งบุคคลวางไว้บน
กองหญ้าแห้ง หรือบนกองไม้แห้ง เธอทราบไหมว่า ‘ถ่านไฟนี้จักไม่
ลุกลามขยายกว้างออกไป”
ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า “ทราบ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ เช่นเดียวกัน เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคล
บางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมก็ดี อกุศลธรรมก็ดีของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัย
ต่อมา เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘อกุศลธรรมแม้เท่ารอยเจาะแห่ง
ปลายขนทรายของบุคคลนี้ก็ไม่มี บุคคลนี้ประกอบด้วยธรรมที่ไม่มีโทษ เป็นธรรม
ฝ่ายขาวอย่างเดียว จักปรินิพพานในปัจจุบันแน่นอน กำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคล
อย่างนี้แล กำหนดใจด้วยใจจึงรู้ญาณเป็นเครื่องรู้อินทรีย์ของบุคคลอย่างนี้แล กำหนด
ใจด้วยใจจึงรู้ธรรมที่อาศัยกันเกิดขึ้นต่อไปอย่างนี้แล
อานนท์ บรรดาบุคคล 6 จำพวกนั้น บุคคล 3 จำพวกแรก คือ คนหนึ่งเป็น
ผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดา คนหนึ่งเป็นผู้เสื่อมเป็นธรรมดา อีกคนหนึ่งเกิดในอบาย
และตกนรก บรรดาบุคคล 6 จำพวกนั้น บุคคล 3 จำพวกหลัง คือ คนหนึ่งเป็น
ผู้เสื่อมเป็นธรรมดา คนหนึ่งเป็นผู้ไม่เสื่อมเป็นธรรมดา อีกคนหนึ่งจักปรินิพพาน
เป็นธรรมดา”
ปุริสินทริยญาณสูตรที่ 8 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :570 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 9. นิพเพธิกสูตร
9. นิพเพธิกสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยาย1ชำแรกกิเลส
[63] ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบรรยายเป็นเหตุชำแรกกิเลสแก่เธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนอง
พระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมบรรยายที่เป็นเหตุชำแรกกิเลสนั้น อะไรบ้าง คือ
1. เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิดแห่งกาม ความต่างกันแห่งกาม
วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับแห่งกาม
2. เธอทั้งหลายพึงทราบเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความต่างกันแห่ง
เวทนา วิบากแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา ข้อปฏิบัติให้ถึงความ
ดับแห่งเวทนา
3. เธอทั้งหลายพึงทราบสัญญา เหตุเกิดแห่งสัญญา ความต่างกันแห่ง
สัญญา วิบากแห่งสัญญา ความดับแห่งสัญญา ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับแห่งสัญญา
4. เธอทั้งหลายพึงทราบอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความต่างกันแห่ง
อาสวะ วิบากแห่งอาสวะ ความดับแห่งอาสวะ ข้อปฏิบัติให้ถึง
ความดับแห่งอาสวะ
5. เธอทั้งหลายพึงทราบกรรม เหตุเกิดแห่งกรรม ความต่างกันแห่ง
กรรม วิบากแห่งกรรม ความดับแห่งกรรม ข้อปฏิบัติให้ถึงความ
ดับแห่งกรรม
6. เธอทั้งหลายพึงทราบทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความต่างกันแห่ง
ทุกข์ วิบากแห่งทุกข์ ความดับแห่งทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ
แห่งทุกข์
ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘เธอทั้งหลายพึงทราบกาม เหตุเกิด
แห่งกาม ความต่างกันแห่งกาม วิบากแห่งกาม ความดับแห่งกาม ข้อปฏิบัติให้
ถึงความดับแห่งกาม’ เพราะอาศัยเหตุอะไรเราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น

เชิงอรรถ :
1 บรรยาย แปลจาก ปริยาย ศัพท์ มีความหมาย 3 นัย คือ (1) หมายถึงเทศนา - ดู ม.มู. 12/205/175
(2) หมายถึงวาระ - ดู ม.อุ. 14/398/344 (3) หมายถึงเหตุ - ดู วิ.มหา. (แปล) 1/164/136 (วิ.อ.
1/3/126)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :571 }