เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. สุมนวรรค 6. กาลทานสูตร
ประพฤติพรหมจรรย์
ย่อมคบหาผู้ให้ทานทุกเมื่อ
สัตบุรุษเหล่านั้นย่อมแสดงธรรม
เป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่เขา
เขารู้ชัดธรรมนั้นแล้ว
เป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพานในโลกนี้
ทานานิสังสสูตรที่ 5 จบ

6. กาลทานสูตร
ว่าด้วยกาลทา1
[36] ภิกษุทั้งหลาย กาลทาน 5 ประการนี้
กาลทาน 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน
2. ให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป
3. ให้ทานแก่ผู้เป็นไข้
4. ให้ทานในสมัยมีภิกษาหาได้ยาก
5. ให้ข้าวอย่างดี และผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล
ภิกษุทั้งหลาย กาลทาน 5 ประการนี้แล
ผู้มีปัญญารู้ความประสงค์ของผู้ขอ2
เป็นผู้ปราศจากความตระหนี่
ย่อมให้ทานในกาลที่ควรให้

เชิงอรรถ :
1 กาลทาน หมายถึงยุตตทาน คือ การให้ที่เหมาะสม (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/36/22)
2 รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ในที่นี้หมายถึงคฤหัสถ์เมื่อเห็นภิกษุเที่ยวบิณฑบาตยืนที่ประตูเรือนของตนเป็น
ผู้นิ่งไม่ออกปากขอ ก็รู้ความหมายได้ว่า ‘ท่านกำลังขอ ซึ่งเป็นการขออย่างพระอริยะ’ เมื่อรู้แล้วก็คิดว่า
‘พวกเราหุงต้มได้ แต่ภิกษุเหล่านี้หุงต้มไม่ได้ แล้วท่านจะหาภัตรได้ที่ไหน‘จึงจัดแจงไทยธรรมถวายท่าน
(องฺ.ปญฺจก.ฏีกา 3/36-37/21)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :57 }