เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 8. ปุริสินทริยญาณสูตร
8. ปุริสินทริยญาณสูตร
ว่าด้วยญาณเป็นเครื่องรู้อินทรีย์ของบุคคล
[62] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเสด็จจาริกไปในแคว้นโกศล พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์
หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนิคมของแคว้นโกศลชื่อทัณฑกัปปกะ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคได้
ทรงแวะลงจากหนทาง ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง
และภิกษุเหล่านั้นได้พากันเข้าไปสู่นิคมชื่อทัณฑกัปปกะ เพื่อแสวงหาที่พัก
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์พร้อมด้วยภิกษุจำนวนมาก ได้ไปยังแม่น้ำอจิรวดี
เพื่อสรงน้ำ ครั้นสรงน้ำเสร็จแล้ว ได้ขึ้นมานุ่งผ้าผืนเดียวยืนผึ่งตัวอยู่ ลำดับนั้น
ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์แล้วถามว่า “ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาค
ทรงกำหนดรู้เหตุทั้งหมดด้วยพระทัยแล้วหรือ จึงทรงพยากรณ์พระเทวทัตว่า ‘เทวทัต
จะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ดำรงอยู่ตลอดกัป แก้ไขไม่ได้’ หรือว่าพระผู้มีพระภาค
ทรงกำหนดรู้เหตุบางอย่างเท่านั้น จึงได้ทรงพยากรณ์พระเทวทัตเช่นนี้”
ท่านพระอานนท์ตอบว่า “ผู้มีอายุ ข้อนี้พระผู้มีพระภาคได้พยากรณ์ไว้
อย่างนี้แล”
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท
แล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์พร้อมด้วยภิกษุจำนวนมากได้ไปยังแม่น้ำอจิรวดี
เพื่อสรงน้ำ ครั้นสรงน้ำเสร็จแล้ว ได้ขึ้นมานุ่งผ้าผืนเดียวยืนผึ่งตัวอยู่ ลำดับนั้น
ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้ามาหาข้าพระองค์แล้วถามว่า ท่านอานนท์ พระผู้มีพระภาคทรง
กำหนดรู้เหตุทั้งหมดด้วยพระทัยแล้วหรือ จึงทรงพยากรณ์พระเทวทัตว่า ‘เทวทัตจะ
ต้องเกิดในอบาย ตกนรก ดำรงอยู่ตลอดกัป แก้ไขไม่ได้ หรือว่าพระผู้มีพระภาค
ทรงกำหนดรู้เหตุบางอย่างเท่านั้น จึงได้ทรงพยากรณ์พระเทวทัตเช่นนี้’ เมื่อภิกษุนั้น
กล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกับภิกษุรูปนั้นว่า ‘ผู้มีอายุ ข้อนี้พระผู้มี
พระภาคได้ทรงพยากรณ์ไว้อย่างนี้แล”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :564 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 8. ปุริสินทริยญาณสูตร
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ภิกษุรูปนั้นคงเป็นภิกษุใหม่ บวชได้ไม่นาน
หรือว่าเป็นภิกษุเถระ แต่โง่เขลา ไม่เฉียบแหลม เพราะข้อที่เราพยากรณ์ว่าเป็นหนึ่ง
จักเป็นสองได้อย่างไร อานนท์ เราไม่เห็นบุคคลอื่นแม้คนหนึ่ง ซึ่งเรากำหนดรู้เหตุ
ทั้งหมดด้วยใจแล้ว จึงพยากรณ์อย่างนี้เหมือนเทวทัตเลย ตราบใดเราเห็นธรรมฝ่าย
ขาวของเทวทัตแม้เท่ารอยเจาะแห่งปลายขนทราย ตราบนั้นเราก็ไม่พยากรณ์เทวทัตว่า
‘เทวทัตจะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ดำรงอยู่ตลอดกัป แก้ไขไม่ได้’ แต่เมื่อเราไม่เห็น
ธรรมฝ่ายขาวของเทวทัตแม้เท่ารอยเจาะแห่งปลายขนทราย เมื่อนั้นเราจึงพยากรณ์
เทวทัตนั้นว่า ‘เทวทัตจะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ดำรงอยู่ตลอดกัป แก้ไขไม่ได้’
อานนท์ เปรียบเหมือนหลุมคูถ ลึกชั่วคน เต็มด้วยคูถเสมอขอบปากหลุม
บุรุษพึงตกลงไปที่หลุมคูถนั้นจมมิดศีรษะ บุรุษบางคนหวังประโยชน์ หวังเกื้อกูล
หวังความปลอดภัย ใคร่จะยกเขาขึ้นจากหลุมคูถนั้น จึงเข้ามาหา เขาเดินรอบหลุม
คูถนั้นอยู่ ก็ไม่เห็นอวัยวะที่ไม่เปื้อนคูถ แม้เท่ารอยเจาะแห่งปลายขนทรายซึ่งพอจะ
จับยกขึ้นมาได้ ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อใดไม่ได้เห็นธรรมฝ่ายขาวของ
เทวทัตแม้เท่ารอยเจาะแห่งปลายขนทรายเลย เมื่อนั้น เราจึงพยากรณ์เทวทัตว่า
‘เทวทัตจะต้องเกิดในอบาย ตกนรก ดำรงอยู่ตลอดกัป แก้ไขไม่ได้’ ถ้าเธอทั้งหลาย
พึงฟังตถาคต เราจักจำแนกญาณเป็นเครื่องรู้อินทรีย์ของบุคคล”
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค บัดนี้เป็นกาลที่สมควร
ข้าแต่พระสุคต บัดนี้เป็นกาลที่สมควรที่พระผู้มีพระภาคจะทรงจำแนกญาณเป็นเครื่อง
รู้อินทรีย์ของบุคคล ภิกษุทั้งหลายได้สดับจากพระผู้มีพระภาคแล้ว จักทรงจำไว้”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
อานนท์
1. เรากำหนดใจด้วยใจจึงรู้บุคคลบางคนในโลกนี้อย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรม
ก็ดี อกุศลธรรมก็ดี ของบุคคลนี้แลมีอยู่’ สมัยต่อมา เรากำหนดใจ
ด้วยใจจึงรู้บุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ‘กุศลธรรมของบุคคลนี้แลหายไป
อกุศลธรรมเกิดขึ้นมาแทน แต่กุศลมูลที่เขายังตัดไม่ขาดมีอยู่ เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :565 }