เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 7. มัชเฌสูตร
ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ผัสสะ1เป็น
ส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดผัสสะ2เป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง ความดับผัสสะ3อยู่ท่ามกลาง
ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะตัณหาย่อมร้อยรัดผัสสะและเหตุเกิดผัสสะนั้นไว้
เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้น ๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุชื่อว่ารู้ยิ่งในธรรมที่ควร
รู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควร
กำหนดรู้ ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน”
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระทั้งหลายว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย อดีตเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง อนาคตเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง
ปัจจุบันอยู่ท่ามกลาง ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะตัณหาย่อมร้อยรัดอดีต
อนาคต และปัจจุบันนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้น ๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
ภิกษุชื่อว่ารู้ยิ่งในธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควร
รู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน”
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระทั้งหลายว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย สุขเวทนาเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง ทุกขเวทนาเป็นส่วนสุดอีก
ด้านหนึ่ง อทุกขมสุขเวทนาอยู่ท่ามกลาง ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะตัณหา
ย่อมร้อยรัดสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนานั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้น
แห่งภพนั้น ๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุชื่อว่ารู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่
ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน”

เชิงอรรถ :
1 ผัสสะ หมายถึงอัตภาพนี้ (อัตภาพปัจจุบัน) เพราะเกิดขึ้นด้วยอำนาจผัสสะ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/61/145)
2 เหตุเกิดผัสสะ หมายถึงอัตภาพในอนาคตที่เกิดขึ้นเพราะปัจจัยคือกรรมที่เคยทำไว้ในอัตภาพปัจจุบัน
(องฺ.ฉกฺก.อ. 3/61/145)
3 ความดับผัสสะ หมายถึงนิพพาน ที่ชื่อว่าอยู่ท่ามกลางระหว่างอัตภาพปัจจุบันกับอัตภาพอนาคต เพราะ
เป็นธรรมที่ตัดตัณหาอันเป็นเครื่องร้อยรัดอัตภาพทั้งสองนั้นได้ และเป็นธรรมที่แยกอัตภาพทั้งสองนั้นให้
อยู่คนละส่วนกัน (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/61/146)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :561 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 7. มัชเฌสูตร
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระทั้งหลายว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย นามเป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง รูปเป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง วิญญาณ1
อยู่ท่ามกลาง ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะตัณหาย่อมร้อยรัดนาม รูป และ
วิญญาณนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้น ๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุชื่อว่ารู้ยิ่ง
ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้
ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน”
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระทั้งหลายว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย อายตนะภายใน 6 เป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง อายตนะภายนอก 6
เป็นส่วนสุดอีกด้านหนึ่ง วิญญาณอยู่ท่ามกลาง ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะ
ตัณหาย่อมร้อยรัดอายตนะภายใน 6 อายตนะภายนอก 6 และวิญญาณนั้นไว้
เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งภพนั้น ๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุชื่อว่ารู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้
ย่อมทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน”
เมื่อภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กล่าวกับภิกษุเถระทั้งหลายว่า
“ผู้มีอายุทั้งหลาย สักกายะ2เป็นส่วนสุดด้านหนึ่ง เหตุเกิดสักกายะเป็นส่วนสุดอีก
ด้านหนึ่ง ความดับสักกายะอยู่ท่ามกลาง ตัณหาจัดเป็นเครื่องร้อยรัด เพราะตัณหา
ย่อมร้อยรัดสักกายะ เหตุเกิดสักกายะ และความดับสักกายะนั้นไว้ เพราะเป็นที่เกิด
ขึ้นแห่งภพนั้น ๆ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ภิกษุชื่อว่ารู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรม
ที่ควรกำหนดรู้ เมื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ย่อมทำที่สุด
แห่งทุกข์ได้ในปัจจุบัน”

เชิงอรรถ :
1 วิญญาณ ในที่นี้หมายถึงปฏิสนธิวิญญาณ ที่ชื่อว่าอยู่ท่ามกลางระหว่างนามกับรูปนั้น เพราะวิญญาณเป็น
ตัวก่อปัจจัยให้เกิดรูปกับนาม (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/61/147)
2 สักกายะ ในที่นี้หมายถึงวัฏฏะ 3 คือ กิเลส กรรม วิบาก ที่เกี่ยวข้องในกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ หรือ
หมายถึงอุปาทานขันธ์ (ดูรายละเอียดในเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 14 หน้า 433)
เหตุเกิดสักกายะ หมายถึงสมุทัยสัจ ได้แก่ ตัณหา
ความดับสักกายะ หมายถึงนิโรธสัจ ได้แก่ นิพพาน (ที.ปา.อ. 305/186, องฺ.ฉกฺก.อ. 3/61/147)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :562 }