เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 6. หัตถิสารีปุตตสูตร
ละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุ
จตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เขา
กล่าวว่า ‘เราได้จตุตถฌาน’ แต่ยังคลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ย่อม
บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
6. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง จึงบรรลุ
เจโตสมาธิที่ไม่มีนิมิตอยู่ เขากล่าวว่า ‘เราได้เจโตสมาธิที่ไม่มีนิมิต’
แต่ยังคลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา
มหาอำมาตย์ของพระราชา พวกเดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ เมื่อ
เขาคลุกคลีอยู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบพูดคุย ราคะจึง
รบกวนจิตเขา เขาถูกราคะรบกวนจิตแล้วย่อมบอกคืนสิกขากลับ
มาเป็นคฤหัสถ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพระราชา หรือ
มหาอำมาตย์ของพระราชา ยกกองทัพ 4 เหล่า เดินทางไกลไป
พักแรมอยู่ที่แนวป่าแห่งหนึ่ง ในแนวป่านั้น เสียงจักจั่นเรไรพึงเงียบ
ไปเพราะเสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงพลเดินเท้า เสียงกึกก้อง
แห่งกลอง บัณเฑาะว์ สังข์ และพิณ ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้
เสียงจักจั่นเรไรจักไม่ปรากฏที่แนวป่าโน้นอีก’ ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวถูกต้อง
หรือผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น แต่เป็นไปได้ที่ เมื่อใด
พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เสด็จหลีกไปจากแนวป่านั้น
เมื่อนั้น เสียงจักจั่นเรไร ก็พึงปรากฏได้อีก ฉันใด ผู้มีอายุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะไม่มนสิการ
ถึงนิมิตทั้งปวง บรรลุเจโตสมาธิอยู่ เขากล่าวว่า ‘เราได้เจโตสมาธิ
อันไม่มีนิมิต’ แต่ยังคลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก
อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา พวกเดียรถีย์
สาวกของเดียรถีย์ เมื่อเขาคลุกคลีอยู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์
ชอบพูดคุย ราคะจึงรบกวนจิตเขา เขาถูกราคะรบกวนจิตแล้ว
ย่อมบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
ต่อมา ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ พวกภิกษุ
ผู้เป็นสหายของจิตตหัตถิสารีบุตรได้เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิกะถึงที่อยู่แล้วถามว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :558 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 6. หัตถิสารีปุตตสูตร
“ท่านพระมหาโกฏฐิกะกำหนดรู้ใจบุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตรด้วยใจว่า ‘บุรุษชื่อจิตต-
หัตถิสารีบุตรเป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ ๆ และจักบอกคืนสิกขากลับมาเป็น
คฤหัสถ์’ หรือเทวดาทั้งหลายแจ้งเนื้อความนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บุรุษชื่อว่า
จิตตหัตถิสารีบุตร เป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ ๆ และจักบอกคืนสิกขากลับมาเป็น
คฤหัสถ์”
ท่านพระมหาโกฏฐิกะกล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้กำหนดรู้ใจบุรุษ
ชื่อว่าจิตตหัตถิสารีบุตรด้วยใจว่า ‘เป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ ๆ และจักบอกคืน
สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์’ แม้เทวดาก็บอกเนื้อความนี้แก่ข้าพเจ้า”
ลำดับนั้น พวกภิกษุผู้เป็นสหายของบุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตรได้พากันเข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตรเป็นผู้ได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ ๆ
และได้บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่นานนัก บุรุษชื่อจิตตหัตถิสารีบุตร
จักระลึกถึงคุณแห่งเนกขัมมะได้”
ต่อมา ไม่นานนัก จิตตหัตถิสารีบุตรโกนผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อจิตตหัตถิสารีบุตรได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว
ไม่นาน หลีกไปอยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท1 มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนัก
ได้ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม2อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่กุลบุตรทั้งหลาย

เชิงอรรถ :
1 ไม่ประมาท ในที่นี้หมายถึงไม่ละสติในกัมมัฏฐาน (ม.ม.อ. 2/82/80)
2 ประโยชน์ยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงอรหัตตผล หรืออริยผลอันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์ (องฺ.ทุก.อ.
2/5/7, ม.มู.อ. 2/82/80)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :559 }