เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 6. หัตถิสารีปุตตสูตร
ปรากฏเป็นทางลื่น ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ ฝุ่นจักไม่ปรากฏที่
ทางใหญ่สี่แพร่งโน้นอีก’ ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือ ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น แต่เป็นไปได้ที่มนุษย์ โค หรือสัตว์เลี้ยง
พึงเหยียบน้ำที่ทางใหญ่สี่แพร่งโน้น หรือลมและแดดพึงแผดเผา
ให้แห้ง เมื่อเป็นเช่นนั้นฝุ่นก็พึงปรากฏอีกได้ ฉันใด ผู้มีอายุทั้งหลาย
บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สงัดจากกามและ
อกุสลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร มีปีติและสุข
อันเกิดจากวิเวกอยู่ เขากล่าวว่า ‘เราได้ปฐมฌาน’ แต่ยังคลุกคลีอยู่
กับพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
3. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน
มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มี
วิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เขากล่าวว่า ‘เราได้
ทุติยฌาน’ แต่ยังคลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมบอกคืน
สิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนฝนลูก
เห็บตกลงที่บึงใหญ่ไม่ไกลบ้านหรือนิคม พึงยังหอยโข่ง หอยกาบ
ก้อนกรวด และกระเบื้องถ้วยให้หมดไป ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘บัดนี้ หอยโข่ง หอยกาบ ก้อนกรวด และกระเบื้องถ้วย จักไม่
ปรากฏในบึงโน้นอีก’ ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือ ผู้มีอายุทั้งหลาย
ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น แต่เป็นไปได้ที่มนุษย์ โค และสัตว์เลี้ยงพึง
ดื่มน้ำในบึงโน้น หรือลมแดดพึงแผดเผาให้แห้งไป เมื่อเป็นเช่นนั้น
หอยโข่ง หอยกาบ ก้อนกรวด และกระเบื้องถ้วยก็พึงปรากฏได้อีก
ฉันใด ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสใน
ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติ
และสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เขากล่าวว่า ‘เราได้ทุติยฌาน’ แต่ยัง
คลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมบอกคืนสิกขากลับมาเป็น
คฤหัสถ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :556 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 6. หัตถิสารีปุตตสูตร
4. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติ-
สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เขากล่าวว่า
‘เราได้ตติยฌาน’ แต่ยังคลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมบอก
คืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือน
อาหารที่ค้างคืน ไม่พึงยังบุรุษผู้ชอบบริโภคอาหารที่ประณีตให้ยินดีได้
ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ บุรุษโน้นจักไม่ชอบใจอาหารอีกแน่
‘ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือ ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น
แต่เป็นไปได้ที่อาหารอื่นจักไม่ยังบุรุษโน้นผู้ชอบบริโภคอาหารที่ประณีต
ให้ยินดีได้ตลอดเวลาที่รสอาหารนั้นจักดำรงอยู่ในร่างกายของเขา
แต่เมื่อใด รสอาหารนั้นจักหมดไป เมื่อนั้น อาหารนั้นก็พึงยังเขาให้
ยินดีอีกได้ ฉันใด ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญ
ว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’ เขากล่าวว่า ‘เราได้ตติยฌาน’
แต่คลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมบอกคืนสิกขากลับมาเป็น
คฤหัสถ์
5. บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและ
โทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติ
บริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ เขากล่าวว่า ‘เราได้จตุตถฌาน’ แต่ยัง
คลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ฯลฯ ย่อมบอกคืนสิกขากลับมาเป็น
คฤหัสถ์ ผู้มีอายุ เปรียบเหมือนห้วงน้ำใกล้ภูเขาไม่มีลม ปราศจาก
คลื่น ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘บัดนี้ คลื่นจักไม่ปรากฏที่ห้วงน้ำ
โน้นอีก’ ผู้นั้นชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือ ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ไม่เป็น
เช่นนั้น แต่เป็นไปได้ที่ลมฝนอันแรงกล้าพึงพัดมาจากทิศตะวันออก
ทำให้เกิดคลื่นที่ห้วงน้ำนั้น ลมฝนที่พัดมาจากทิศตะวันตก ฯลฯ
ทิศเหนือ ฯลฯ ทิศใต้ ก็พึงทำให้เกิดคลื่นที่ห้วงน้ำนั้นได้ ฉันใด
ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :557 }