เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 6. หัตถิสารีปุตตสูตร
6. หัตถิสารีปุตตสูตร
ว่าด้วยท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร
[60] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี สมัยนั้นแล ภิกษุเถระจำนวนมากกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหาร
เสร็จแล้ว นั่งประชุมสนทนาอภิธัมมกถาอยู่ในโรงฉัน1ทราบว่า ในที่ประชุมนั้น
เมื่อภิกษุผู้เป็นเถระกำลังสนทนาอภิธัมมกถากันอยู่ ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตรก็พูด
สอดขึ้นในระหว่าง
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิกะได้กล่าวกับท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตรว่า
“เมื่อภิกษุผู้เป็นเถระกำลังสนทนาอภิธัมมกถากันอยู่ ท่านจิตตหัตถิสารีบุตรพูดสอด
ขึ้นในระหว่าง ขอให้ท่านจิตตหัตถิสารีบุตรรอคอยจนกว่าภิกษุผู้เป็นเถระจะสนทนา
กันจบ”
เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิกะกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกภิกษุผู้เป็นสหายของท่าน
พระจิตตหัตถิสารีบุตรได้กล่าวกับท่านมหาโกฏฐิกะว่า “แม้ท่านพระมหาโกฏฐิกะก็
อย่ารุกรานท่านจิตตหัตถิสารีบุตร เพราะท่านจิตตหัตถิสาริบุตรเป็นบัณฑิต และ
ท่านสามารถกล่าวอภิธัมมกถากับภิกษุผู้เป็นเถระได้”
ท่านพระมหาโกฏฐิกะได้กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ทราบวาระจิต
ของผู้อื่นพึงรู้ข้อนี้ได้ยาก คือ
1. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้สงบเสงี่ยม อ่อนน้อม เรียบร้อย ตลอด
เวลาที่ยังอาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ดำรงอยู่ในฐานะ
เป็นครูรูปใดรูปหนึ่งอยู่ แต่เมื่อใด เขาหลีกไปจากพระศาสดา
หลีกไปจากเพื่อนพรหมจารีซึ่งดำรงอยู่ในฐานะเป็นครู เมื่อนั้น

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ฉักกนิบาต ข้อ 28 (ทุติยสมยสูตร) หน้า 465 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :554 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 6. หัตถิสารีปุตตสูตร
เขาคลุกคลี1อยู่กับเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา
มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ และสาวกของเดียรถีย์ เมื่อ
เขาคลุกคลีอยู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบโอ้อวด ราคะจึง
รบกวนจิตเขา เขาถูกราคะรบกวนจิตแล้ว ย่อมบอกคืนสิกขากลับ
มาเป็นคฤหัสถ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนโคที่เคยกินข้าวกล้า
ถูกเขาผูกไว้ด้วยเชือกหรือขังไว้ในคอก ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
‘บัดนี้ โคตัวที่เคยกินข้าวกล้านี้จักไม่ลงกินข้าวกล้าอีก’ ผู้นั้นชื่อว่า
กล่าวถูกต้องหรือ ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ไม่เป็นเช่นนั้น แต่เป็นไปได้
ที่โคที่เคยกินข้าวกล้าตัวนั้นพึงดึงเชือกขาดหรือแหกคอกแล้วลงไป
กินข้าวกล้าอีก ฉันใด ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้สงบเสงี่ยม อ่อนน้อม เรียบร้อย ตลอด
เวลาที่ยังอาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ดำรงอยู่ในฐานะ
เป็นครูรูปใดรูปหนึ่งอยู่ แต่เมื่อใด เขาหลีกไปจากพระศาสดา
หลีกไปจากเพื่อนพรหมจารีซึ่งดำรงอยู่ในฐานะเป็นครู เมื่อนั้น
เขาคลุกคลีอยู่กับเหล่าภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา
มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ และสาวกของเดียรถีย์ เมื่อ
เขาคลุกคลีอยู่ ปล่อยจิต ไม่สำรวมอินทรีย์ ชอบโอ้อวด ราคะจึง
รบกวนจิตเขา เขาถูกราคะรบกวนจิตแล้ว ย่อมบอกคืนสิกขากลับ
มาเป็นคฤหัสถ์
2. บุคคลบางคนในโลกนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุ
ปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เขา
กล่าวว่า ‘เราได้ปฐมฌาน’ แต่ยังคลุกคลีอยู่กับพวกภิกษุ ฯลฯ
ย่อมบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ ผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบ
เหมือนฝนลูกเห็บ ตกที่ทางใหญ่สี่แพร่ง พึงทำฝุ่นให้หายไป

เชิงอรรถ :
1 คลุกคลี ในที่นี้หมายถึงคลุกคลี 5 อย่าง คือ (1) คลุกคลีด้วยการฟัง (2) คลุกคลีด้วยการพบเห็น
(3) คลุกคลีด้วยการสนทนาปราศรัย (4) คลุกคลีด้วยการใช้สอยรวมกัน (5) คลุกคลีทางกาย (องฺ.ฉกฺก.
อ. 3/60/144, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/60/163)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :555 }