เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 5. ทารุกัมมิกสูตร
2. ถ้าภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้น
พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าภิกษุผู้อยู่ใกล้บ้าน เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น
3. ถ้าภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็น
อย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต
เป็นวัตร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับ
การสรรเสริญด้วยเหตุนั้น
4. ถ้าภิกษุผู้รับนิมนต์ เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้น
พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าภิกษุรับนิมนต์ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ
เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น
5. ถ้าภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็น
อย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้น ถ้าภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุล
เป็นวัตร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงได้รับ
การสรรเสริญด้วยเหตุนั้น
6. ถ้าภิกษุผู้ทรงคหบดีจีวร เป็นผู้ฟุ้งซ่าน ถือตัว โลเล ปากกล้า
พูดพร่ำเพรื่อ หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิต
กวัดแกว่ง ไม่สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นพึงถูกติเตียน
ด้วยเหตุนั้น ถ้าแม้ภิกษุผู้ทรงคหบดีจีวร เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตัว
ไม่โลเล ไม่ปากกล้า ไม่พูดพร่ำเพรื่อ มีสติมั่นคง มีสัมปชัญญะ
มีจิตตั้งมั่น มีจิตแน่วแน่ สำรวมอินทรีย์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้น
พึงได้รับการสรรเสริญด้วยเหตุนั้น
คหบดี เชิญท่านถวายสังฆทานเถิด เมื่อท่านถวายสังฆทานอยู่ จิตจักเลื่อมใส
หลังจากตายแล้วท่านจะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์”
คหบดีกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักถวายสังฆทานตั้งแต่
วันนี้เป็นต้นไป”
ทารุกัมมิกสูตรที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :553 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 6. หัตถิสารีปุตตสูตร
6. หัตถิสารีปุตตสูตร
ว่าด้วยท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตร
[60] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตกรุง
พาราณสี สมัยนั้นแล ภิกษุเถระจำนวนมากกลับจากบิณฑบาตภายหลังฉันอาหาร
เสร็จแล้ว นั่งประชุมสนทนาอภิธัมมกถาอยู่ในโรงฉัน1ทราบว่า ในที่ประชุมนั้น
เมื่อภิกษุผู้เป็นเถระกำลังสนทนาอภิธัมมกถากันอยู่ ท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตรก็พูด
สอดขึ้นในระหว่าง
ลำดับนั้น ท่านพระมหาโกฏฐิกะได้กล่าวกับท่านพระจิตตหัตถิสารีบุตรว่า
“เมื่อภิกษุผู้เป็นเถระกำลังสนทนาอภิธัมมกถากันอยู่ ท่านจิตตหัตถิสารีบุตรพูดสอด
ขึ้นในระหว่าง ขอให้ท่านจิตตหัตถิสารีบุตรรอคอยจนกว่าภิกษุผู้เป็นเถระจะสนทนา
กันจบ”
เมื่อท่านพระมหาโกฏฐิกะกล่าวอย่างนี้แล้ว พวกภิกษุผู้เป็นสหายของท่าน
พระจิตตหัตถิสารีบุตรได้กล่าวกับท่านมหาโกฏฐิกะว่า “แม้ท่านพระมหาโกฏฐิกะก็
อย่ารุกรานท่านจิตตหัตถิสารีบุตร เพราะท่านจิตตหัตถิสาริบุตรเป็นบัณฑิต และ
ท่านสามารถกล่าวอภิธัมมกถากับภิกษุผู้เป็นเถระได้”
ท่านพระมหาโกฏฐิกะได้กล่าวว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ทราบวาระจิต
ของผู้อื่นพึงรู้ข้อนี้ได้ยาก คือ
1. บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้สงบเสงี่ยม อ่อนน้อม เรียบร้อย ตลอด
เวลาที่ยังอาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีผู้ดำรงอยู่ในฐานะ
เป็นครูรูปใดรูปหนึ่งอยู่ แต่เมื่อใด เขาหลีกไปจากพระศาสดา
หลีกไปจากเพื่อนพรหมจารีซึ่งดำรงอยู่ในฐานะเป็นครู เมื่อนั้น

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ฉักกนิบาต ข้อ 28 (ทุติยสมยสูตร) หน้า 465 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :554 }