เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 4. อาสวสูตร
เพื่อปกปิดอวัยวะที่น่าละอาย พิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต ไม่ใช่เพื่อ
เล่น ไม่ใช่เพื่อความมัวเมา1 ไม่ใช่เพื่อประดับ2 ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง3 แต่เพื่อกายนี้ดำรง
อยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป เพื่อบำบัดความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์
ด้วยคิดเห็นว่า ‘โดยอุบายนี้เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียได้ และจักไม่ให้เวทนาใหม่
เกิดขึ้น ความดำรงอยู่แห่งชีวิต ความไม่มีโทษ และการอยู่โดยผาสุกจักมีแก่เรา’
พิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยเสนาสนะเพื่อป้องกันความหนาว ความร้อน
เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน เพื่อบรรเทาอันตรายที่เกิด
จากฤดู และยินดีในการหลีกเร้น พิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขาร4 เพื่อบรรเทาเวทนาที่เกิดจากอาพาธต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อไม่มี
ความเบียดเบียนเป็นที่สุด5 ซึ่งเมื่อเธอไม่ใช้สอยอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อ
ความคับแค้นก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอใชัสอยอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความ
คับแค้น ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการใช้สอย
ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยความอดกลั้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้อดทนต่อความหนาว
ความร้อน ความหิว กระหาย เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน

เชิงอรรถ :
1 เพื่อความมัวเมา หมายถึงความถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเห่อเหิม ในที่นี้หมายถึง
ความถือตัวว่ามีกำลังเหมือนนักมวยปล้ำ ความถือตัวเพราะมานะ และความถือตัวว่าเป็นชาย (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
3/58/155) และดู อภิ.วิ. (แปล) 35/845/550
2 เพื่อประดับ ในที่นี้หมายถึงเพื่อให้ร่างกายอ้วนพีอวบอิ่มเหมือนหญิงแพศยา (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา. 3/58/155,
วิสุทธิ. 1/18/33)
3 เพื่อตกแต่ง ในที่นี้หมายถึงเพื่อประเทืองผิวให้งดงามเหมือนหญิงนักฟ้อน (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา. 3/58/155,
วิสุทธิ. 1/18/33)
4 คำว่า คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร แยกอธิบายความหมายดังนี้ ยาที่ชื่อว่า คิลานปัจจัย เพราะเป็นเครื่อง
ปราบโรค ที่ชื่อว่า เภสัช เพราะเป็นวัตถุที่หมออนุญาตให้ใช้ได้ และที่ชื่อว่า บริขาร เพราะเป็นสัมภาระ
เครื่องนำชีวิตให้ดำรงอยู่ได้ (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/58/157, วิสุทฺธิ 1/18/36)
5 เพื่อไม่มีความเบียดเบียนเป็นที่สุด หมายถึงเพื่อไม่ให้มีความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/58/
157, วิสุทธิ. 1/18/36)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :549 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 4. อาสวสูตร
เป็นผู้อดกลั้นต่อคำหยาบ คำส่อเสียด ต่อเวทนาทั้งหลายอันมีในร่างกายเป็นทุกข์
กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ พรากชีวิตได้ ซึ่งเมื่อเธอไม่อดกลั้นอยู่
อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธออดกลั้นอยู่ อาสวะ
และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยความอดกลั้น
ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการเว้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วเว้นช้างดุร้าย เว้นม้าดุร้าย
เว้นโคดุร้าย เว้นสุนัขดุร้าย เว้นงู หลัก ตอ สถานที่มีหนาม หลุม เหว บ่อน้ำครำ
บ่อโสโครก และพิจารณาโดยแยบคายแล้วเว้นสถานที่ไม่ควรนั่ง สถานที่ไม่ควร
เที่ยวไป และมิตรชั่ว ที่เพื่อนพรหมจารีผู้รู้ทั้งหลายลงความเห็นว่าเป็นฐานะที่เป็น
บาปเสีย ซึ่งเมื่อเธอไม่เว้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นก็จะพึง
เกิดขึ้น เมื่อเธอเว้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ
ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการเว้น
ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการบรรเทา เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วไม่รับกามวิตกที่เกิดขึ้น ละ
บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้ถึงความเกิดขึ้นไม่ได้อีกต่อไป พิจารณาโดยแยบคายแล้ว
ไม่รับพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่รับวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น ฯลฯ ไม่รับบาป
อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วเกิดขึ้นอีก ละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ทำให้ถึงความเกิดขึ้น
ไม่ได้อีกต่อไป ซึ่งเมื่อเธอไม่บรรเทาอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น
ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอบรรเทาอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อม
ไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการบรรเทา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :550 }