เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 4. อาสวสูตร
3. ละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยความอดกลั้น
4. ละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการเว้น
5. ละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการบรรเทา1
6. ละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการเจริญ
ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการสังวร เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว2 เป็นผู้สำรวมด้วยการสังวร
ในจักขุนทรีย์อยู่ ซึ่งเมื่อเธอไม่สำรวมอยู่ อาสวะ3และความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้น
ก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอสำรวมอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความคับแค้นย่อม
ไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้สำรวมด้วยการ
สังวรในโสตินทรีย์ ... ฆานินทรีย์ ... ชิวหินทรีย์ ... กายินทรีย์ ... เป็นผู้สำรวมด้วย
การสังวรในมนินทรีย์อยู่ ซึ่งเมื่อเธอไม่สำรวมอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อ
ความคับแค้นก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอสำรวมอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความ
คับแค้นย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการสังวร
ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการใช้สอย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยจีวรเพียงเพื่อป้องกัน
ความหนาว ความร้อน เหลือบยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน

เชิงอรรถ :
1 ดู อปัสเสนธรรม 4 ประการ ใน องฺ.ทสก. (แปล) 24/20/40, ที.ปา 11/308/200, ที.ปา.อ. 308/204
2 โดยแยบคาย ในที่นี้หมายถึงโดยอุบายหรือแนวทาง ได้แก่ พิจารณาเห็นโทษของการไม่สำรวมจักขุนทรีย์
เป็นต้น เช่น พิจารณาเปรียบเทียบว่าการถูกทิ่มแทงด้วยหลาวเหล็กแดงอันร้อนลุกโชน ยังดีกว่าการไม่
พิจารณาแล้วเกิดอิฏฐารมณ์หรืออนิฏฐารมณ์ในรูปเป็นต้น (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/58/139)
3 ดูเชิงอรรถที่ 5 ปัญจกนิบาต ข้อ 200 (นิสสารณียสูตร) หน้า 340 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :548 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 4. อาสวสูตร
เพื่อปกปิดอวัยวะที่น่าละอาย พิจารณาโดยแยบคายแล้วฉันบิณฑบาต ไม่ใช่เพื่อ
เล่น ไม่ใช่เพื่อความมัวเมา1 ไม่ใช่เพื่อประดับ2 ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง3 แต่เพื่อกายนี้ดำรง
อยู่ได้ เพื่อให้ชีวิตินทรีย์เป็นไป เพื่อบำบัดความหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์
ด้วยคิดเห็นว่า ‘โดยอุบายนี้เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสียได้ และจักไม่ให้เวทนาใหม่
เกิดขึ้น ความดำรงอยู่แห่งชีวิต ความไม่มีโทษ และการอยู่โดยผาสุกจักมีแก่เรา’
พิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยเสนาสนะเพื่อป้องกันความหนาว ความร้อน
เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน เพื่อบรรเทาอันตรายที่เกิด
จากฤดู และยินดีในการหลีกเร้น พิจารณาโดยแยบคายแล้วใช้สอยคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขาร4 เพื่อบรรเทาเวทนาที่เกิดจากอาพาธต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อไม่มี
ความเบียดเบียนเป็นที่สุด5 ซึ่งเมื่อเธอไม่ใช้สอยอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อ
ความคับแค้นก็จะพึงเกิดขึ้น เมื่อเธอใชัสอยอยู่ อาสวะและความเร่าร้อนที่ก่อความ
คับแค้น ย่อมไม่มีแก่เธอ ด้วยอาการอย่างนี้
ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยการใช้สอย
ภิกษุละอาสวะที่จะพึงละได้ด้วยความอดกลั้น เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วเป็นผู้อดทนต่อความหนาว
ความร้อน ความหิว กระหาย เหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เลื้อยคลาน

เชิงอรรถ :
1 เพื่อความมัวเมา หมายถึงความถือตัว ความลำพองตน ความทะนงตน ความเห่อเหิม ในที่นี้หมายถึง
ความถือตัวว่ามีกำลังเหมือนนักมวยปล้ำ ความถือตัวเพราะมานะ และความถือตัวว่าเป็นชาย (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
3/58/155) และดู อภิ.วิ. (แปล) 35/845/550
2 เพื่อประดับ ในที่นี้หมายถึงเพื่อให้ร่างกายอ้วนพีอวบอิ่มเหมือนหญิงแพศยา (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา. 3/58/155,
วิสุทธิ. 1/18/33)
3 เพื่อตกแต่ง ในที่นี้หมายถึงเพื่อประเทืองผิวให้งดงามเหมือนหญิงนักฟ้อน (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา. 3/58/155,
วิสุทธิ. 1/18/33)
4 คำว่า คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร แยกอธิบายความหมายดังนี้ ยาที่ชื่อว่า คิลานปัจจัย เพราะเป็นเครื่อง
ปราบโรค ที่ชื่อว่า เภสัช เพราะเป็นวัตถุที่หมออนุญาตให้ใช้ได้ และที่ชื่อว่า บริขาร เพราะเป็นสัมภาระ
เครื่องนำชีวิตให้ดำรงอยู่ได้ (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/58/157, วิสุทฺธิ 1/18/36)
5 เพื่อไม่มีความเบียดเบียนเป็นที่สุด หมายถึงเพื่อไม่ให้มีความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง (องฺ.ฉกฺก.ฏีกา 3/58/
157, วิสุทธิ. 1/18/36)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :549 }