เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 2. ผัคคุณสูตร
ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระผัคคุณะได้มรณภาพ
แล้ว ในเวลามรณภาพ อินทรีย์1ของท่านผ่องใสยิ่งนัก ต่อมา ท่านพระอานนท์เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระ
ผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน
ท่านพระผัคคุณะได้มรณภาพแล้ว และในเวลามรณภาพอินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก”
อานิสงส์การฟังธรรม
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ อินทรีย์ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใสได้
อย่างไร แรกทีเดียวจิตของผัคคุณภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์
(สังโยชน์เบื้องต่ำ) 5 ประการ แต่เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของผัคคุณภิกษุ
จึงหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ
อานนท์ การฟังธรรมตามกาล การพิจารณาเนื้อความตามกาลมีอานิสงส์ 6
ประการนี้
อานิสงส์ 6 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5
ประการ ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอได้เห็นตถาคต ตถาคต
แสดงธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มี
ความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ
บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของ
เธอจึงหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ นี้เป็นอานิสงส์
ประการที่ 1 ในการฟังธรรมตามกาล
2. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5
ประการ ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้
เห็นสาวกของตถาคต สาวกของตถาคตแสดงธรรมที่มีความงามใน

เชิงอรรถ :
1 อินทรีย์ ในที่นี้หมายถึงอินทรีย์ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/56/138)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :541 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 2. ผัคคุณสูตร
เบื้องต้น มีความงามในท่านกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของเธอจึงหลุดพ้นจาก
โอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 2 ในการ
ฟังธรรมตามกาล
3. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5
ประการ ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอไม่ได้เห็นตถาคต ทั้งไม่ได้
เห็นสาวกของตถาคต แต่ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจ
ซึ่งธรรม ตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมา เมื่อเธอตรึก
ตามตรองตามเพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ได้
เรียนมา จิตของเธอจึงหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 ประการ
นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 3 ในการพิจารณาเนื้อความตามกาล
4. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5
ประการ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ-
กิเลสอันยอดเยี่ยม1 ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอได้เห็นตถาคต
ตถาคตย่อมแสดงธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามใน
ท่ามกลาง ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน
แก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของเธอจึงน้อมไปในธรรม
เป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ 4
ในการฟังธรรมตามกาล
5. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5
ประการ แต่จิตของเธอไม่น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส
อันยอดเยี่ยม ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอไม่ได้เห็นตถาคต
แต่เธอได้เห็นสาวกของตถาคต สาวกของตถาคตแสดงธรรมที่มี
ความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์
ครบถ้วนแก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของเธอจึงน้อมไป

เชิงอรรถ :
1 ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึงนิพพาน (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/56/138)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :542 }