เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 1. โสณสูตร
บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้สำคัญไปว่า ‘ท่านรูปนี้ต้องการลาภ
สักการะและการสรรเสริญเป็นแน่ จึงน้อมไปในปวิเวก1’ ‘แต่ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็นอย่างนั้น
เพราะพระขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่เห็นว่าตน
ยังจะต้องทำกิจอะไรอีก หรือต้องไปสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ย่อมน้อมไปในปวิเวกเพราะสิ้น
ราคะ เพราะปราศจากราคะ ย่อมน้อมไปในปวิเวก เพราะสิ้นโทสะ เพราะปราศจาก
โทสะ ย่อมน้อมไปในปวิเวกเพราะสิ้นโมหะ เพราะปราศจากโมหะ
บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้สำคัญไปว่า ‘ท่านรูปนี้ถือสีลัพพต-
ปรามาส2เป็นสาระเป็นแน่ จึงน้อมไปในความไม่เบียดเบียน’ แต่ข้อนี้ก็ไม่พึงเห็น
อย่างนั้น เพราะพระขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่เห็นว่าตนยังจะต้องทำกิจอะไรอีก หรือต้องไปสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ย่อมน้อมไปใน
ความไม่เบียดเบียนเพราะสิ้นราคะ เพราะปราศจากราคะ ย่อมน้อมไปในความไม่
เบียดเบียนเพราะสิ้นโทสะ เพราะปราศจากโทสะ ย่อมน้อมความไม่เบียดเบียน
เพราะสิ้นโมหะ เพราะปราศจากโมหะ
บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้ ฯลฯ ย่อมน้อมไปในความสิ้นตัณหา
เพราะสิ้นราคะ เพราะปราศจากราคะ ย่อมน้อมไปในความสิ้นตัณหา เพราะสิ้น
โทสะ เพราะปราศจากโทสะ ย่อมน้อมไปในความสิ้นตัณหา เพราะสิ้นโมหะ เพราะ
ปราศจากโมหะ
บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้ ฯลฯ ย่อมน้อมไปในความสิ้นอุปาทาน
เพราะสิ้นราคะ เพราะปราศจากราคะ ย่อมน้อมไปความสิ้นอุปาทานเพราะสิ้น
โทสะ เพราะปราศจากโทสะ ย่อมน้อมไปในความสิ้นอุปาทาน เพราะสิ้นโมหะ
เพราะปราศจากโมหะ
บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้ ฯลฯ ย่อมน้อมไปในความไม่ลุ่มหลง
เพราะสิ้นราคะ เพราะปราศจากราคะ ย่อมน้อมไปในความไม่ลุ่มหลงเพราะสิ้น

เชิงอรรถ :
1 ข้อความว่า “ท่านรูปนี้ต้องการลาภสักการะและการสรรเสริญเป็นแน่ จึงน้อมไปในวิเวก” นี้ อรรถกถา
อธิบายขยายความว่า “ท่านรูปนี้ต้องการลาภสักการะและการสรรเสริญเป็นแน่ จึงพยากรณ์พระอรหัตต-
ผลอย่างนี้ว่า ‘เราน้อมไปในปวิเวก” (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/55/137)
2 สีลัพพตปรามาส คือความยึดถือว่าบุคคลบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีล และวัตร (วิ.อ. 3/243/165)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :537 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 1. โสณสูตร
โทสะ เพราะปราศจากโทสะ ย่อมน้อมไปในความไม่ลุ่มหลง เพราะสิ้นโมหะ เพราะ
ปราศจากโมหะ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ารูปารมณ์ที่รุนแรงที่จะพึงรู้แจ้งทางตา มาปรากฏ
ทางตาของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ รูปารมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ครอบงำ
จิตของภิกษุนั้นได้เลย จิตของภิกษุนั้นไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ เป็นธรรมชาติมั่นคง
หนักแน่น และภิกษุนั้นก็พิจารณาเห็นความเกิดดับของจิตนั้น
ถ้าสัททารมณ์ที่รุนแรงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ
ถ้าคันธารมณ์ที่รุนแรงที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ
ถ้ารสารมณ์ที่รุนแรงที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ
ถ้าโผฏฐัพพารมณ์ที่รุนแรงที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ฯลฯ
แม้ถ้าธรรมารมณ์ที่รุนแรงที่จะพึงรู้แจ้งทางใจ มาปรากฏทางใจของภิกษุผู้มีจิต
หลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ธรรมารมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้น
ได้เลย จิตของภิกษุนั้นไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ เป็นธรรมชาติมั่นคงหนักแน่น
และภิกษุนั้นก็พิจารณาเห็นความเกิดดับของจิตนั้น
จิตของพระขีณาสพผู้น้อมไปในเนกขัมมะ
น้อมไปในปวิเวก น้อมไปในความไม่เบียดเบียน
น้อมไปในความสิ้นอุปาทาน
น้อมไปในความสิ้นตัณหา และน้อมไปในความไม่ลุ่มหลง
ย่อมหลุดพ้นโดยชอบเพราะเห็นความเกิดแห่งอายตนะ1
ภิกษุผู้มีจิตสงบระงับหลุดพ้นโดยชอบ
ย่อมไม่มีการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว
ทั้งไม่มีกิจที่จะต้องทำอีก
ภูเขาหินแท่งทึบย่อมไม่สะเทือนเพราะลม ฉันใด
รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ทั้งมวล

เชิงอรรถ :
1 รวมถึงความดับแห่งอายตนะด้วย (วิ.อ. 3/243-244/165, สารตฺถ.ฏีกา 3/244/355)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :538 }