เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
คือ ศรัทธา สติ วิริยะ สมถะ และวิปัสสนา
ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย
ว่าเป็นบุคคลที่ 71 แห่งอริยสงฆ์
นรชนใดเบียดเบียนทำร้ายบุคคลเช่นนั้น
ผู้เป็นภิกษุในกาลก่อน
นรชนนั้นชื่อว่าทำร้ายตนเอง
บั่นรอนอรหัตตผลในภายหลัง
ส่วนนรชนใดรักษาตน
นรชนนั้นชื่อว่าเป็นผู้รักษาตนในภายนอก
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตไม่พึงขุดโค่นคุณความดีของตน
พึงรักษาตนทุกเมื่อเถิด
ธัมมิกสูตรที่ 12 จบ
ธัมมิกวรรคที่ 5 จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. นาคสูตร 2. มิคสาลาสูตร
3. อิณสูตร 4. มหาจุนทสูตร
5. ปฐมสันทิฏฐิกสูตร 6. ทุติยสันทิฏฐิกสูตร
7. เขมสูตร 8. อินทริยสังวรสูตร
9. อานันทสูตร 10. ขัตติยสูตร
11. อัปปมาทสูตร 12. ธัมมิกสูตร

ปฐมปัณณาสก์ จบ

เชิงอรรถ :
1 บุคคลที่ 7 หมายถึงพระสกทาคามี โดยนับจากพระอรหันต์ลงมา (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/54/134, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
3/54/146)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :532 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 6. มหาวรรค 1. โสณสูตร
2. ทุติยปัณณาสก์
6. มหาวรรค
หมวดว่าด้วยเรื่องใหญ่
1. โสณสูตร
ว่าด้วยพระโสณะ
[55] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์
สมัยนั้น ท่านพระโสณะอยู่ที่ป่าสีตวัน เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ท่านพระโสณะ
หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดเกิดความคิดคำนึงในจิตดังนี้ว่า “ในบรรดาพระสาวกของพระผู้มี
พระภาคที่ปรารภความเพียร เราก็เป็นรูปหนึ่ง แต่ไฉนจิตของเราจึงยังไม่หลุดพ้น
จากอาสวะโดยไม่ยึดมั่นถือมั่นเล่า ทรัพย์สมบัติในตระกูลของเรามีอยู่ เราอาจใช้
สอยทรัพย์สมบัติและบำเพ็ญบุญได้ ทางที่ดี เราควรบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
ใช้สอยทรัพย์สมบัติ และบำเพ็ญบุญ1”
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบด้วยพระทัยถึงความคิดคำนึงในจิตของ
ท่านพระโสณะ จึงทรงหายไปจากภูเขาคิชฌกูฏ มาปรากฏพระองค์ที่ป่าสีตวัน
เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนออกหรือคู้แขนเข้า ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้2

เชิงอรรถ :
1 ท่านพระโสณะปรารภความเพียรหนักเกินไปโดยเดินจงกรมจนฝ่าเท้าแตก และเมื่อเปลี่ยนมาใช้วิธีคลาน
จงกรม เข่าและฝ่ามือก็แตกเป็นแผลอีก จึงมีจิตฟุ้งซ่านท้อแท้ว่า “ถ้าเราเป็นบุคคลประเภทอุคฆฏิตัญญู
(ผู้รู้เข้าใจได้ฉับพลัน) วิปจิตัญญู (ผู้รู้เมื่อขยายความ) เนยยะ (ผู้ที่พอจะแนะนำได้) จิตของเราพึงหลุดพ้น
จากกิเลสได้เป็นแน่ แต่เราคงเป็นบุคคลประเภทปทปรมะ (ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง) จิตของเราจึงไม่หลุดพ้น”
(องฺ.ฉกฺก.อ. 3/55/135) และดู วิ.ม. 5/243/4
2 พุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ หมายถึงตั่ง เตียง แผ่นกระดาน แผ่นหิน หรือกองทรายที่ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรปูลาด
ไว้เพื่อเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคที่จะเสด็จมาให้โอวาท แก้อารมณ์กัมมัฏฐานถึงที่อยู่ของตน ถ้าหา
อาสนะนั้นไม่ได้ จะใช้ใบไม้เก่า ๆ ปูลาดก็ได้ โดยลาดสังฆาฏิไว้บน นี้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติสำหรับภิกษุ
นักปฏิบัติ ในที่นี้จึงหมายถึงพุทธอาสน์นั้น (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/55/135,อ.ฉกฺก.ฏีกา 3/55/147)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :533 }