เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค 12. ธัมมิกสูตร
ครูกุททาลกะ ครูหัตถิปาลมาณพ
และครูโชติปาละผู้เป็นพราหมณ์ปุโรหิต
ของพระราชา 7 พระองค์ เป็นเจ้าของโค
ท่านเหล่านั้น เป็นผู้หมดกลิ่นสาบ1
มุ่งมั่นในกรุณา ล่วงพ้นกามสังโยชน์
คลายกามราคะเสียได้
เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว
แม้สาวกหลายร้อยคนของครูเหล่านั้น
ก็เป็นผู้หมดกลิ่นสาบ มุ่งมั่นในกรุณา
ล่วงพ้นกามสังโยชน์ คลายกามราคะเสียได้
เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกแล้ว
นรชนใด มีความดำริทางใจถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว
บริภาษท่านผู้เป็นฤๅษีทั้งหลายภายนอกศาสนา
ผู้ปราศจากความกำหนัด มีจิตตั้งมั่นแล้ว
นรชนนั้นย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
ส่วนนรชนใดมีความดำริทางใจถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว
บริภาษภิกษุผู้เป็นพุทธสาวกมีทิฏฐิสมบูรณ์รูปเดียว
นรชนนี้ย่อมประสพสิ่งที่ไม่ใช่บุญ
มากกว่าผู้บริภาษครูเหล่านั้น
นรชนไม่พึงเสียดสีท่านผู้มีความดี ผู้ละทิฏฐิ2ได้แล้ว
เราเรียกบุคคลผู้มีอินทรีย์ 5 ที่ยังอ่อน

เชิงอรรถ :
1 กลิ่นสาบ ในที่นี้หมายถึงความโกรธ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/54/134)
2 ทิฏฐิ ในที่นี้หมายถึงทิฏฐิ 62 ประการ (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/54/134)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :531 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 5. ธัมมิกวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
คือ ศรัทธา สติ วิริยะ สมถะ และวิปัสสนา
ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกามทั้งหลาย
ว่าเป็นบุคคลที่ 71 แห่งอริยสงฆ์
นรชนใดเบียดเบียนทำร้ายบุคคลเช่นนั้น
ผู้เป็นภิกษุในกาลก่อน
นรชนนั้นชื่อว่าทำร้ายตนเอง
บั่นรอนอรหัตตผลในภายหลัง
ส่วนนรชนใดรักษาตน
นรชนนั้นชื่อว่าเป็นผู้รักษาตนในภายนอก
เพราะเหตุนั้น บัณฑิตไม่พึงขุดโค่นคุณความดีของตน
พึงรักษาตนทุกเมื่อเถิด
ธัมมิกสูตรที่ 12 จบ
ธัมมิกวรรคที่ 5 จบ
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. นาคสูตร 2. มิคสาลาสูตร
3. อิณสูตร 4. มหาจุนทสูตร
5. ปฐมสันทิฏฐิกสูตร 6. ทุติยสันทิฏฐิกสูตร
7. เขมสูตร 8. อินทริยสังวรสูตร
9. อานันทสูตร 10. ขัตติยสูตร
11. อัปปมาทสูตร 12. ธัมมิกสูตร

ปฐมปัณณาสก์ จบ

เชิงอรรถ :
1 บุคคลที่ 7 หมายถึงพระสกทาคามี โดยนับจากพระอรหันต์ลงมา (องฺ.ฉกฺก.อ. 3/54/134, องฺ.ฉกฺก.ฏีกา
3/54/146)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 22 หน้า :532 }